วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ศีล 5 (pt.1 ความหมาย และ การรักษาศีล)


รูปภาพจาก http://www.lotus.rmutt.ac.th/?p=5965


 ศีล แปลว่า ปกติ ซึ่ง ผู้ที่มีศีลจึงหมายถึงผู้ที่เป็นมนุษย์ที่ปกติความปกตินั้นเป็นพื้นฐานของความสงบเรียบร้อยของทุกสิ่งทุกอย่างทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตแต่เมื่อใดเกิดความไม่ปกติขึ้นความยุ่งยากความเดือดร้อนหรือเสียหายย่อมเกิดขึ้นตามมาเช่นดวงอาทิตย์ปกติจะส่องสว่างในเวลากลางวันเป็นปกติถ้าตราบใดที่พระอาทิตย์ยังส่องแสงเป็นปกติอยู่อย่างนี้เราทั้งหลายก็ยังมีชีวิตที่สงบสุขอยู่ตราบนั้นแต่หากวันใดพระอาทิตย์เกิดความผิดปกติขึ้นมาคือไม่ส่องแสงในเวลากลางวันดังที่เคยเป็นมาการงานย่อมเสียหายความวุ่นวายก็จะเกิดขึ้นเพียงการเกิดสุริยุปราคา การงานก็เสียหายไม่น้อยหรือฤดูฝนปกติฝนจะต้องตกการทำเกษตรจึงสามารถทำไปได้อย่างเต็มที่ แต่หากปีใดที่ถึงฤดูฝน แล้วฝนกลับไม่ตกปีนั้นก็กลายเป็นปีที่ผิดปกติไป และสิ่งที่เกิดตามมาคือข้าวยากหมากแพง พืชผลทาง การเกษตรก็เสียหาย
     คนเราก็เช่นกัน ถ้ามีความเป็นปกติการดำเนินชีวิตก็มีแต่ความสงบสุขสังคมก็อยู่อย่างปกติเรียบร้อยแต่วันใดที่คนปกติกลายเป็นคนไม่ปกติไปเมื่อนั้นความทุกข์ความเดือดร้อนย่อมเกิดขึ้นทั้งต่อตนเองและบุคคลที่อยู่รอบข้างด้วย อะไรคือความเป็นปกติของมนุษย์ และอะไรคือความผิดปกติของมนุษย์ ศีล 5 คือปกติของความเป็นมนุษย์ หรือมนุษยธรรม คือธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ ผู้ที่ผิดศีลก็ชื่อว่า เป็นคนที่ผิดปกติไป

         ศีล 5 เป็นคุณธรรมพื้นฐาน เป็นเครื่องช่วยควบคุมกายวาจาของมนุษย์ให้เรียบร้อยเพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุขพอสมควรหากมีผู้ใดทำผิดศีลข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อแล้วก็จะแสดงพฤติกรรมหรือการกระทำที่ผิดปกติของมนุษย์ออกมาซึ่งจะก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายเกิดความเดือดร้อนทั้งต่อตนเองหมู่คณะและสังคมส่วนรวม
  ศีล 5 เกิดขึ้นจากสามัญสำนึกของมนุษย์ที่ปรารถนาจะอยู่ในสังคมได้อย่างสงบสุขปลอดภัยโดยไม่ต้องหวาดระแวงหรือกลัวอันตราย หรือกลัวว่าจะถูกเบียดเบียนทำร้าย ไม่ว่าจากใคร หรือด้วยวิธีใดก็ตาม
 แม้ว่าศีลจะเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติของมนุษย์ก็ตามแต่การจะได้ชื่อว่าเป็นผู้รักษาศีลนั้นย่อมมิใช่เพียงแค่การไม่ทำความชั่วแต่เพียงอย่างเดียวเพราะบางคนที่ยังไม่ทำความชั่วอาจเป็นเพราะยังไม่มีโอกาสที่จะทำเช่นนักโทษที่ถูกกักขังไว้ไม่มีโอกาสไปเบียดเบียนใครย่อมไม่อาจบอกได้ว่าเขาเป็นผู้รักษาศีลหรือเด็กทารกที่นอนอยู่ในเปลแม้จะไม่ได้ทำความชั่วอะไรแต่ก็เป็นไปเพราะความที่ไม่รู้เดียงสาจึงไม่อาจกล่าวว่าเด็กนั้นรักษาศีลได้เพราะศีลนั้นสำคัญที่เจตนาการจะได้ชื่อว่าเป็นผู้รักษาศีลจึงต้องเริ่มต้นที่ความตั้งใจและความตั้งใจงดเว้นจากความชั่วŽนี่เองคือความหมายของคำว่า วิรัติ หรือ เวรมณี



รูปภาพจาก
     “ วิรัติŽ ” จึงเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงการมีศีลบุคคลใดก็ตามจะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีศีลรักษาศีลก็ต่อเมื่อมีวิรัติอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้
1. สมาทานวิรัติ
คือ ความตั้งใจงดเว้นจากบาปเพราะได้สมาทานศีลไว้แล้วหมายความว่าเราได้ตั้งใจไว้ก่อนว่าจะรักษาศีล ครั้นไปพบเหตุการณ์ที่ชวนให้ล่วงละเมิดศีลก็ไม่ยอมให้ศีลขาด
2. สัมปัตตวิรัติ
คือ ความตั้งใจงดเว้นจากบาปเมื่อเกิดเรื่องขึ้นเฉพาะหน้าแม้ว่าเดิมทีนั้นไม่ได้สมาทานศีลไว้แต่เมื่อไปพบเหตุการณ์ที่ชวนให้ล่วงละเมิดศีลก็คำนึงถึง ชาติ ตระกูล การศึกษา หรือความดีต่างๆ เป็นต้นจึงทำให้เกิดความตั้งใจที่จะงดเว้นจากบาปเวรขึ้นในขณะนั้นนั่นเอง
3. สมุจเฉทวิรัติ หรือ เสตุฆาตวิรัติ
คือ การงดเว้นจากบาปได้อย่างเด็ดขาดเป็นวิรัติของพระอริยเจ้าซึ่งละกิเลส คือ ความโลภ โกรธ หลง ได้แล้วเมื่อใจท่านปราศจากกิเลสที่เป็นเหตุให้ทำความชั่วจึงไม่มีการผิดศีลอย่างแน่นอน

     วิรัตินั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่งเพราะการกระทำใดๆก็ตามหากปราศจากความตั้งใจมุ่งมั่นแล้วการกระทำนั้นๆย่อมไม่หนักแน่นมั่นคงพร้อมจะแปรเปลี่ยนอยู่เรื่อยไปดังนั้นแม้จะยังไม่ได้ทำความชั่วขึ้นก็ตามแต่ถ้าหากไม่มีวิรัติก็ไม่จัดว่าเป็นการรักษาศีล

cr.
http://www.kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=7580
http://www.kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=7581

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น