วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

108

เลข 108 เป็นเลขที่เรา ค่อนข้างได้ยินบ่อยทีเดียว ในวันนี้ จะมาบอกคุณสมบัติทางคณิตศาสตร์เบื้องต้นที่น่าสนใจ ของ ตัวเลข 108 และการพบเจออื่นๆ

คุณสมบัติทางคณิตศาสตร์เบื้องต้นที่น่าสนใจ ของ ตัวเลข 108
  • เป็นจำนวน Hyperfactorial ของ 3 (1^1 x 2^2 x 3^3 = 108)
  • เป็นขนาดของมุมภายใน ของ ห้าเหลี่ยมด้านเท่า
  • การแยกตัวประกอบ ของ 108 คือ (2^2 x 3^3)
  • ตัวหาร ของ 108 คือ 1,2,3,4,6,9,12,18,27,36,54,108

(ภาพจาก https://readlover.wordpress.com/2013/04/11/108-%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%99/)

เลข 108 เป็นเลขที่พบเจอได้ในทางศาสนา และ วัฒนธรรม เช่น 
  • ภาพการเกษียรสมุทร ที่ นครวัด มีเทวดา 54 ตน และ อสูร 54 ตน ได้ทำการกวนทะเลน้ำนม เพื่อให้ได้น้ำอมฤต 
  • ในศิลปะการป้องกันตัวของอินเดีย(Varma kalai) , อายุรเวท และ ศิลปะการป้องกันตัวของจีน มีจุดตายของร่างกาย มี 108 จุด
  • ในเรื่อง ซ้องกั๋ง (108 ผู้กล้าหาญแห่งเขาเหลียงซาน) กบฏ 108 คนได้ทำการสู้รบกับขุนนางกังฉิน
  • ร้านสะดวกซื้อ 108 Shop ของเครือสหพัฒน์ และ Lawson 108  ของเครือสหพัฒน์ และ Lawson


ซึ่งใน ทางพระพุทธศาสนา ก็พบเจอ เลขนี้ด้วย เช่น
  • จำนวนลูกประคำ 108 ลูก
  • จำนวนรอยมงคล 108 บนรอยพระพุทธบาท
ซึ่งเลขนี้ถือเป็นเลขมงคล (อาจจะเป็นเหตุผลในการตั้งชื่อ ร้านค้า บริษัท หรือ เว็ป ด้วย)
ซึ่ง ที่มาของ เลขนี้ คือ ลูกประคำ 
โดยมี 2 ที่มา คือ
  • พระพุทธคุณ 56 พระธรรมคุณ 34 พระสังฆคุณ 14

    โดย วิธีนับนั้นท่านกำหนดให้นับตามอักษร       พุทธคุณ  ๕๖   เริ่มตั้งแต่ 
    อิ  ติ  ปิ  โส  ภะ  คะ  วา  อะ  ระ  หัง  สัม  มา  สัม  พุท   โธ  วิช  ชา  จะ ระ  สัม  ปัน  โน  สุ  คะ  โต  โล  กะ  วิ  ทู  อะ  นุต  ตะ  โร  ปุ  ริ  สัท  ธัม  มะ  สา  ระ  ถิ  สัต  ถา  เท  วะ  มะ  นุส  สา  นัง  พุท  โธ  ภะ  คะ  วา   ติ
         นับรวมได้  ๕๖  คำ  
         พระธรรมคุณ  ๓๘   นับเริ่มตั้งแต่ 
    สฺวาก  ขา  โต  ภะ  คะ  วะ  ตา  ธัม  โม  สัน  ทิฏ  ฐิ  โก  อะ  กา  ลิ  โก  เอ  หิ  ปัส  สิ  โก  โอ  ปะ  นะ  ยิ โก  ปัจ  จัต  ตัง  เว  ทิ  ตัพ  โพ  วิญ  ญู  หี  ติ 
         นับรวมได้  ๓๘  คำ  
         ส่วนพระสังฆคุณ  ๑๔  นั้น  ท่านกำหนดให้ท่องนับท่อนเดียวคือ
      สุ ปะ  ฏิ  ปัน  โน  ภะ  คะ  วะ  โต  สา  วะ  กะ  สัง  โฆ 
         นับรวมได้  ๑๔  คำ
  • จำนวนดวงธรรม (โดย 1 ลูกประคำ แทน 1 ดวงธรรม)

    เนื่องจาก มนุษย์มีกายหยาบสุดถึงกายสุดละเอียด  18 กาย คือ

    (ภาพจาก http://www.dmc.tv/pages/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2.html)

    1. กายมนุษย์  
    2. กายมนุษย์ละเอียด  
    3. กายทิพย์  
    4. กายทิพย์ละเอียด
    5. กายรูปพรหม  
    6. กายรูปพรหมละเอียด
    7. กายอรูปพรหม 
    8. กายอรูปพรหมละเอียด 
    9. กายธรรมโคตรภู 
    10. กายธรรมโคตรภูละเอียด
    11. กายธรรมพระโสดา
    12. กายธรรมพระโสดาละเอียด
    13. กายธรรมพระสกิทาคา
    14. กายธรรมพระสกิทาคาละเอียด 
    15. กายธรรมพระอนาคา 
    16. กายธรรมพระอนาคาละเอียด 
    17. กายธรรมพระอรหัต 
    18. กายธรรมพระอรหัตละเอียด

    ซึ่งการดำเนินจิตจากกายมนุษย์หยาบ เพื่อไปสู่ความเป็นพระอรหันต์ ต้องผ่านด่าน 18 กายดังกล่าว

    และก่อนจะถึงแต่ละกายต้องผ่
    าน ดวงธรรม 6 ดวง คือ 


    1. ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    2. ดวงศีล 
    3. ดวงสมาธิ 
    4. ดวงปัญญา 
    5. ดวงวิมุติ 
    6. ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ 
    ซึ่งจำนวนดวงธรรมทั้งหมดที่ต้องผ่าน ในการเป็นพระอรหันต์ คือ 18 x 6 หรือ 108 ดวง


cr.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น