วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

คุณสมบัติทางคณิตศาสตร์เบื้องต้นที่น่าสนใจ ของ ตัวเลข 0 ถึง 10

กำหนด
ให้  a,b,c,n,x เป็นจำนวนจริงใดๆ
และ  p เป็นความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ใดๆ

คุณสมบัติทางคณิตศาสตร์เบื้องต้นที่น่าสนใจ ของ ตัวเลข 0

  • เป็นจำนวนเต็มที่ไม่ติดลบที่มีค่าน้อยที่สุด
  • เป็นจำนวนธรรมชาติ จำนวนแรก
  • เป็นสมาชิกของจำนวนเต็ม
  • ไม่เป็น จำนวนเฉพาะ และ จำนวนประกอบ
  • เป็นจำนวนคู่
  • เป็นเอกลักษณ์การบวก กล่าวคือ 0 + a = a + 0 = a
  • 0 - a = a และ 0 - a = -a
  • a + (-a) = 0
  • 0 * a = a * 0 = 0
  • 0 / x  = 0 เมื่อ x เป็นจำนวนจริงที่ไม่เท่ากับ 0
  • x / 0 ไม่นิยามเนื่องจาก 0 ไม่มีตัวผกผันการคูณ
  • 0 / 0  เป็นรูปแบบที่กำหนดไม่ได้ (Indeterminate form)
  • x ^ 0 = 1 เมื่อ x เป็นจำนวนจริงที่ไม่เท่ากับ 0
  • 0 ^ x = 0 เมื่อ x เป็นจำนวนจริงที่มากกว่ากับ 0
  • 0 ^ 0 เป็นรูปแบบที่กำหนดไม่ได้ (Indeterminate form)
  • 0! = 1
  • โดยนิยามแล้ว เมื่อ p = 0 จะเป็นความน่าจะเป็นที่เหตุการณ์นั้นจะไม่เกิดขึ้นแน่นอน
คุณสมบัติทางคณิตศาสตร์เบื้องต้นที่น่าสนใจ ของ ตัวเลข 1
  • เป็นจำนวนเต็มบวกที่มีค่าน้อยที่สุด
  • เป็นจำนวนอัตสัณฐานอันดับ 1 ของเลขฐาน 10
  • ไม่เป็น จำนวนเฉพาะ และ จำนวนประกอบ
  • เป็นจำนวนแรกที่เป็นจำนวนฟีโบนัชชี
  • เป็นเอกลักษณ์การคูณ กล่าวคือ 1 * a = a * 1 = a
  • a * (1 / a) = 1
  • 1 ^ x = 1 เมื่อ x เป็นจำนวนจริงใดๆ
  • ^ 1 = x เมื่อ x เป็นจำนวนจริงใดๆ
  • ไม่มี ลอกาลิทึม ฐาน 1 (เนื่องจาก 1 ^ x = 1)
  • มีรูปทศนิยมซำ้ 2 รูปแบบ คือ 0.999... และ 1.000...
  • โดยนิยามแล้ว เมื่อ p = 1 จะเป็นความน่าจะเป็นที่เหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้นแน่นอน
  • เป็นจำนวนสมบูรณืทับทวีลำดับที่ 1  (เนื่องจาก 1 * 1 = 1)
คุณสมบัติทางคณิตศาสตร์เบื้องต้นที่น่าสนใจ ของ ตัวเลข 2
  • เป็นจำนวนเฉพาะที่น้อยที่สุด
  • เป็นจำนวนเฉพาะที่เป็นจำนวนคู่
  • เป็นจำนวนฟีโบนัชชี
  • เป็นFactorial prime (0! + 1 หรือ 1! + 1)
  • เป็น Factorial (2!)
  • a + a = 2 * a
  • a * a = a ^ 2
  • ^ a = a ↑↑ 2
  • 2 + 2 = 2 * 2 = 2 ^  2 = 2 ↑↑ 2  = hyper(2,n,2) เมื่อ hyper(a,b,c) เป็นเลขยกกำลังซ้อน 
  • รากที่ 2 เป็นจำนวนอตรรกยะ แรกที่รู้จัก
คุณสมบัติทางคณิตศาสตร์เบื้องต้นที่น่าสนใจ ของ ตัวเลข 3
  • เป็นจำนวนเฉพาะที่เป็นจำนวนคี่ อันดับแรก
  • เป็นจำนวนฟีโบนัชชี
  • เป็นFactorial prime (2! + 1)
  • เป็นจำนวนของด้าน (ที่ไม่ตัดกัน) ของรูปหลายเหลี่ยมที่น้อยที่สุด
  • ค่าประมาณของ π (~ 3.14159) และ  e(~2.71828) แบบหยาบๆ เท่ากับ 3
  • เป็นจำนวนสามเหลี่ยม อันดับที่ 2
  • เป็นจำนวนที่ n ^ 2 มากกว่า 2 * n เป็นจำนวนแรก
  • เป็นผลบวกของ Factorial 2 ตัวแรก (เมื่อเริ่มด้วย 1)  (1! + 2!)
คุณสมบัติทางคณิตศาสตร์เบื้องต้นที่น่าสนใจ ของ ตัวเลข 4
  • เป็นจำนวนแรกที่เป็นจำนวนประกอบ
  • เป็นจำนวนแรกที่เป็น 2-Almost prime
  • เป็นจำนวนแรกที่เป็นจำนวนยกกำลัง 2
  • เป็นจำนวนแรกที่ไม่เป็นจำนวนฟีโบนัชชี
  • การแยกตัวประกอบเฉพาะของ 4 คือ 2^2
  • hyper(2,n,2) = 4 เมื่อ hyper(a,b,c) เป็นเลขยกกำลังซ้อน
  • เป็นผลบวกของ Factorial 4 ตัวแรก  (0! + 1! + 2!)
คุณสมบัติทางคณิตศาสตร์เบื้องต้นที่น่าสนใจ ของ ตัวเลข 5
  • เป็นจำนวนเฉพาะที่เป็นจำนวนคี่
  • เป็นจำนวนฟีโบนัชชี
  • เป็นจำนวนอัตสัณฐานอันดับ 1 ของเลขฐาน 10
  • เป็นผลบวกของ จำนวนยกกำลังสอง 2 ตัวแรก  (1^2 + 2^2)
  • เป็นFactorial prime (3! - 1)
  • เป็น Safe prime (2p + 1,p = 2)
คุณสมบัติทางคณิตศาสตร์เบื้องต้นที่น่าสนใจ ของ ตัวเลข 6
  • เป็นจำนวนแรกที่เป็นจำนวนประกอบที่ไม่เป็นจำนวนยกกำลัง 2
  • เป็นจำนวนสมบูรณ์ลำดับที่ 1  (เนื่องจาก 1 + 2 + 3 = 1 * 2 * 3 = 6)
  • เป็นจำนวนสมบูรณืทับทวีลำดับที่ 2  (เนื่องจาก 1 + 2 + 3 + 6 = 6 * 2 = 12)
  • เป็นจำนวนอัตสัณฐานอันดับ 1 ของเลขฐาน 10
  • เป็น Factorial (3!)
คุณสมบัติทางคณิตศาสตร์เบื้องต้นที่น่าสนใจ ของ ตัวเลข 7
  • เป็นFactorial prime (3! + 1)
  • จาก 999999 / 7 = 142857 จะได้ว่า 1/7 = 0.142857 142857 ... , 2/7 = 0.285714 285714 ... ,
    3/7 = 0.428571 428571 ... , 4/7 = 0.571428 571428 ... , 5/7 = 0.714285 714285 ... และ
    6/7 = 0.857142 857142 ... 
คุณสมบัติทางคณิตศาสตร์เบื้องต้นที่น่าสนใจ ของ ตัวเลข 8
  • เป็นจำนวนแรกที่เป็นจำนวนประกอบที่จำนวนยกกำลัง 3
  • เป็นจำนวนแรกที่เป็น 3-Almost prime
  • เป็นจำนวนฟีโบนัชชี
คุณสมบัติทางคณิตศาสตร์เบื้องต้นที่น่าสนใจ ของ ตัวเลข 9
  • เป็นจำนวนแรกที่เป็นจำนวนประกอบคี่
  • เป็น Exponential factorial. (3^(2^1))
  • เป็นผลบวกของ Factorial 3 ตัวแรก (เมื่อเริ่มด้วย 1)  (1! + 2! + 3!)
คุณสมบัติทางคณิตศาสตร์เบื้องต้นที่น่าสนใจ ของ ตัวเลข 10
  • เป็นจำนวนแรกที่ใช้ตัวเลข 2 ตัว
  • เป็นผลบวกของ จำนวนเฉพาะ 3 ตัวแรก (2+3+5)
  • เป็นผลบวกของ 4 จำนวนแรก  (1+2+3+4)
  • เป็นผลบวกของ จำนวนยกกำลังสองที่เป็นเลขคี่ 2 ตัวแรก  (1^2 + 3^2)
  • เป็นผลบวกของ Factorial 4 ตัวแรก  (0! + 1! + 2! + 3!)

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

10 เทคนิคง่ายๆกับคณิตศาสตร์

คณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่น่ากลัวสำหรับใครหลายๆคน แต่ 10  เทคนิคนี้จะช่วยให้ท่านผู้อ่านสามารถฝึกฝนทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ได้

1. การคูณด้วย 11
    จากการคูณจำนวนใดๆด้วย 10 เพียงแค่เพิ่มเลข 0 ลงท้ายจำนวนนั้น
    แต่รู้ไหมว่า การคูณจำนวนที่ไม่เกิน 100 กับ 11 นั้นมีเทคนิคคือ  ...  

1.แทรกช่องว่างระหว่างจำนวนที่ต้องการ
2.นำเลขหลักหน่วยและหลักสิบมาบวกกัน และใส่ในช่องว่าง
3.เมื่อเลขที่ได้ มี 2 หลัก ให้นำหลักสิบที่ได้มาบวกกับหลักร้อย

ตัวอย่าง 49 x 11 = 4 _ 9
                           = 4 (4+9) 9
                           = 4 13 9
                           = (4+1) 3 9
                           = 5 3 9
ตัวอย่าง 17 x 11 = 1 _ 7
                           = 1 (1+7) 7
                           = 1 8 7

2.กำลังสองอย่างง่าย
   เมื่อต้องการยกกำลังสองกับจำนวนที่ลงท้ายด้วย 5 และมี 2 หลัก (เช่น 45)
มีวิธีการอย่างง่ายที่จะหาคำตอบ คือ ...

นำเลขตัวหน้ามาคูณกับตัวเองแล้วบวก1 แล้วใส่เลข 25 ข้างหลัง

ตัวอย่าง 45 x 45 = (4 x (4+1)) 25
                           =  (4 x 5) 25
                           = 20 25

3.การคูณด้วย 5 อย่างง่าย
   การจำสูตรคูณแม่ 5 นั้นง่ายมาก แต่ถ้าเกิดจำนวนนัั้นมีค่าสูงๆ เป็นหลักพันขึ้นไป อาจมีปัญหา ใช่ไหม
ถ้าใช่ มีวิธีหาคำตอบได้ ด้วยการแบ่งครึ่งจำนวนนั้น (หรือทำการหาร 2) แล้วคูณด้วย 10 แทนการคูณด้วย 5 โดยตรง

*ถ้าเป็นเลขคี่ ให้ปัดเศษลงหลังการแบ่งครึ่ง แล้วบวก 5 หลังการคูณ 10

ตัวอย่าง 45678 x 5 = (45678 / 2) x 10
                               =  22839 x 10
                               =  228390
ตัวอย่าง 12321 x 5 = (12321 / 2) x 10
                               =  6160.5 x 10
                               =  (6160 x 10)+ 5
                               =  61600 + 5
                               =  61605

4.การหารด้วย 5 อย่างง่าย
   วิธีการหารจำนวนใหญ่ๆด้วย 5 นั้นง่ายมาก เพียงแค่คูณ 2 กับจำนวนนั้น แล้วเพิ่มจุดทศนิยมหลังหลักหน่วย

ตัวอย่าง 1420 / 5
จาก (1420 * 2) = 2840
ดังนั้น 1420 / 5 = 284.0 หรือ 248

ตัวอย่าง 45678 / 5
จาก (45678 * 2) = 91356
ดังนั้น 45678 / 5 = 9135.6

5.การคูณด้วย 4 อย่างง่าย
 การคูณ 4  เมื่อเจอกับจำนวนบางตัวสามารถคูณตรงๆได้ แต่บางครั้งจำนวนบางตัวก็ยากที่จะทำได้โดยตรง ซึ่งมีวิํธีง่ายๆเมื่อทำการคูณจำนวนเหล่านี้ด้วย 4 คือ คูณ จำนวนนั้น ด้วย 2 และคูณ 2 อีกที

ตัวอย่าง 1233 x 4 = (1233 x 2) x 2
                             =  2466 x 2
                             =  4932

6.การคูณแบบหยาบๆ
 เมื่อต้องการคูณจำนวน 2 จำนวนซึ่งมีจำนวนคู่ และ จำนวนที่ใหญ่ แบบง่ายๆ นั้นมีวิธีการคือ
แบ่งตัวหารของจำนวนคู่ให้กับจำนวนที่ใหญ่

ตัวอย่าง 4725 x 48 = 4725 x 2 x 24
                               = 9450 x 2 x 12
                               = 18900 x 2 x 6
                               = 37800 x 2 x 3
                               = 75600 x 3
                               = 226800

7. 1000 ลบด้วย ...
 เมื่อต้องการลบ 1000 กับ จำนวนใหญ่ๆ มีวิธีที่ง่ายสำหรับการลบโดยใช้กฏง่ายๆ คือ ลบตัวเลขแต่ละหลักยกเว้นหลักสุดท้ายด้วย 9 และ ลบตัวเลขหลักสุดท้ายด้วย 10

ตัวอย่าง 1000 - 235
จาก 9 - 2 = 7
       9 - 3 = 6
       10 - 5 = 5
ดังนั้น 1000 - 235 = 765

8.วิธีคำนวน 15 % อย่างง่าย
 ถ้าต้องการคำนวน 15% ของราคาสินค้า โดยมีวิธีง่ายๆในการคำนวน
คือ คิด 10 %(ใส่จุดทศนิยมหลังหลักหน่วย) และบวกอีกครึ่งหนึ่ง
ตัวอย่าง 15% ของ 35฿ =  (10% ของ 35) + ((10% ของ 35) / 2)
                                      =  3.5 + (3.5 / 2)
                                      =  3.5 + 1.75
                                      =  5.25฿


9.การคูณด้วย 9 อย่างง่าย
 วิธีง่ายๆในการคูณ 9 โดยที่ไม่ต้องจำสูตร คือ ใช้นิ้วมือ(วิธีการดังรูป)

ให้นิ้วต่างๆมีค่าของเลขโดด
1 = นิ้วโป้งซ้าย
2 = นิ้วชี้ซ้าย
3 = นิ้วกลางซ้าย
4 = นิ้วนางซ้าย
5 = นิ้วก้อยซ้าย
6 = นิ้วก้อยขวา
7 = นิ้วนางขวา
8 = นิ้วกลางขวา
9 = นิ้วชี้ขวา
10 = นิ้วโป้งขวา
ดังรูป

เมื่อต้องการนำ 9 ไปคูณกับเลขโดดที่ต้องการให้งอนิ้วที่ตรงกับเลขโดดที่กำหนดไว้
แล้วจำนวนนิ้วที่อยู่ด้านซ้ายจะมีค่าเท่ากับเลขที่อยู่ข้างหน้า
และจำนวนนิ้วที่อยู่ด้านขวาจะมีค่าเท่ากับเลขที่อยู่ข้างหลัง

ตัวอย่าง
9 x 8

 

จำนวนนิ้วที่อยู่ด้านซ้ายจะมีค่าเท่ากับ 7
และจำนวนนิ้วที่อยู่ด้านขวาจะมีค่าเท่ากับ 2

ดังนั้น 9 x 8 = 72

10. สารพันวิธีการคูณ
 การคูณด้วย 4 : คูณด้วย 2   2 ครั้ง
 การคูณด้วย 5 : คูณด้วย 10 แล้ว หารด้วย 2
 การคูณด้วย 6 : คูณด้วย 3   แล้ว คูณด้วย 2
 การคูณด้วย 8 : คูณด้วย 2   3 ครั้ง
 การคูณด้วย 9 : คูณด้วย 10 แล้ว ลบด้วยจำนวนที่ต้องการ หรือ คูณด้วย 3   2 ครั้ง
 การคูณด้วย 11 : คูณด้วย 10 แล้ว บวกด้วยจำนวนที่ต้องการ
 การคูณด้วย 12 : คูณด้วย 10 แล้ว บวกด้วย 2 เท่าของจำนวนที่ต้องการ
 การคูณด้วย 13 : คูณด้วย 10 แล้ว บวกด้วย 3 เท่าของจำนวนที่ต้องการ
 การคูณด้วย 14 : คูณด้วย 7   แล้ว คูณด้วย 2
 การคูณด้วย 15 : คูณด้วย 10 แล้ว บวกด้วย 5 เท่าของจำนวนที่ต้องการ
 การคูณด้วย 16 : คูณด้วย 4   2 ครั้ง หรือ คูณด้วย 8 แล้ว คูณด้วย 2
 การคูณด้วย 17 : คูณด้วย 7   แล้ว บวกด้วย 10 เท่าของจำนวนที่ต้องการ
 การคูณด้วย 18 : คูณด้วย 20 แล้ว ลบด้วย 2 เท่าของจำนวนที่ต้องการ หรือ คูณด้วย 9 แล้ว คูณด้วย 2
 การคูณด้วย 19 : คูณด้วย 20 แล้ว ลบด้วยจำนวนที่ต้องการ
 การคูณด้วย 24 : คูณด้วย 8   แล้ว คูณด้วย 3
 การคูณด้วย 27 : คูณด้วย 30 แล้ว ลบด้วย 3 เท่าของจำนวนที่ต้องการ หรือ คูณด้วย 3   3 ครั้ง
 การคูณด้วย 45 : คูณด้วย 50 แล้ว ลบด้วย 5 เท่าของจำนวนที่ต้องการ หรือ คูณด้วย 5 แล้ว คูณด้วย 9
 การคูณด้วย 90 : คูณด้วย 9 แล้วเติมศูนย์หลังหลักหน่วย
 การคูณด้วย 98 : คูณด้วย 100 แล้ว ลบด้วย 2 เท่าของจำนวนที่ต้องการ
 การคูณด้วย 99 : คูณด้วย 100 แล้ว ลบด้วยจำนวนที่ต้องการ

Bonus...  วิธีคำนวนเปอร์เซนต์อย่างง่าย
 จงหา 7 % ของ 300 ซึ่งฟังดูยาก แต่
 จากคำว่า "เปอร์เซนต์(Percent)" หรือ ร้อยละ มาจาก 2 คำรวมกันคือ Per- (แปลว่า แต่ละ/แบ่ง) และ -cent (แปลว่า ร้อย) ดังนั้น เปอร์เซนต์ จึงมีความหมายว่า  แบ่งเป็นร้อยส่วน.
 นั้นคือ 7 % ของ 100 = 7 หมายถึง มีแค่ 7 ส่วน ใน 100 ส่วน
 12.41% ของ 100 = 12.41  0.01% ของ 100 = 0.01
 ซึ่งจะใช้ประโยชน์อย่างไร
 จากคำถามที่ว่า 7 % ของ 300 ซึ่ง  7 % ของ 100 แรก = 7 , 7 % ของ 100 ที่สอง = 7 และ
7 % ของ 100 สุดท้าย = 7 ดังนั้น 7 % ของ 300 = 7 + 7 + 7 = 21
 แต่ถ้าส่วนทั้งหมดน้อยกว่า 100 ให้ เลื่อนจุดทศนิยม
เช่น 6 % ของ 400 = 6 + 6 + 6 + 6 = 24
       6 % ของ 150 = 6 + 3 = 9
       6 % ของ 15   = 0.9
       17 % ของ 300   = 17 + 17 + 17 = 51
       17 % ของ 350   = 17 + 17 + 17 + 8.5 = 59.5
 และ อีกเทคนิคหนึ่งคือ สามารถสลับตัวเปอร์เซนต์กับตัวส่วนได้
ตัวอย่าง 4 % ของ 100 มีค่าเท่ากับ 100 % ของ 4

แปลจาก http://listverse.com/2007/09/17/10-easy-arithmetic-tricks/
รูปจาก  http://www.sahavicha.com/?name=article&file=readarticle&id=2407

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558