วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ความน่าจะเป็น Pt.3 [การแจกแจงความน่าจะเป็นแบบไม่ต่อเนื่อง]

สำหรับตัวแปรสุ่ม X ที่เป็นแบบไม่ต่อเนื่อง การแจกแจงความน่าจะเป็นของแต่ละค่าของตัว
แปรสุ่ม X บางครั้งสามารถเขียนแทนด้วย f (x) ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละ
ตัวแปรสุ่ม X
การแจกแจงความน่าจะเป็นแบบไม่ต่อเนื่องที่สำคัญๆ เช่น


  • การแจกแจงแบบสม่ำเสมอ (Uniform Distribution)
  • การแจกแจงแบบแเบนูลี (Bernoulli Distribution)
  • การแจกแจงแบบทวินาม (Binomial Distribution)
  • การแจกแจงแบบไฮเปอร์จิออเมตริก (Hypergeometric Distribution)
  • การแจกแจงแบบทวินามลบ (Negative Binomial Distribution)
  • การแจกแจงเรขาคณิต (Geometric Distribution)
  • การแจกแจงปัวซอง (Poisson Distribution)
  1. การแจกแจงแบบสม่ำเสมอ
    การแจกแจงแบบนี้เป็นการแจกแจงของตัวแปรสุ่ม ที่ค่าของแต่ละตัวแปรสุ่มมีโอกาสเกิดขึ้น
    เท่าๆ กัน กล่าวคือสาหรับตัวแปรสุ่ม X โดยที่ค่าของตัวแปรสุ่มมีค่าเป็น x1, x2, …, xn และความน่าจะเป็นของแต่ละค่ามีค่าเท่ากันแล้วจะได้ว่าฟังก์ชันความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่ม X คือ    เมื่อ x = x1, x2, …, xn
  2. การแจกแจงแบบแบนูลี

    ในการทดลองสุ่มที่ผลที่ได้จากการทดลองเป็นไปได้ 2 แบบ คือแบบที่เราสนใจ ซึ่งเราจะเรียกว่าความสาเร็จ (Success) และแบบที่เราไม่สนใจ หรือที่เรียกว่าเป็นความไม่สาเร็จ (Failure) เช่น
    ในการโยนเหรียญ 1 เหรียญ ถ้าเราสนใจการที่เหรียญจะขึ้นหัวหรือไม่ เราอาจจะเรียกการที่เหรียญขึ้น หัว ว่าเป็นความสาเร็จและการที่เหรียญขึ้นก้อยถือเป็นความไม่สาเร็จ หรือในการโยนลูกเต๋า 1 ลูก ถ้า เราสนใจการที่ลูกเต๋าขึ้นหน้า 1 หรือไม่ เราก็อาจจะเรียกการที่ลูกเต๋าได้แต้ม 1 เป็นความสาเร็จ และการที่ลูกเต๋าขึ้นหน้าอื่นๆ เป็นความไม่สาเร็จ เป็นต้น การแจกแจงของการทดลองดังกล่าวเพียง 1 ครั้ง เรียกว่าเป็นการแจกแจงแบบแบนูลี
    ให้ X = 1 เมื่อผลการทดลองเป็นความสำเร็จ
         X = 0 เมื่อผลการทดลองเป็นความไม่สำเร็จ
    ดังนั้น X เป็นตัวแปรสุ่ม
    ถ้าให้ p เป็นความน่าจะเป็นของความสำเร็จ
    จะได้ว่า การแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่ม เป็นดังนี้



    เมื่อ x = 0, 1
  3. การแจกแจงแบบทวินาม

    การแจกแจงแบบทวินามนั้น จะได้จากการทดลองที่เป็นแบบแบนูลี ต่างกันที่แบบแบนูลีทำ
    การทดลองเพียงครั้งเดียว แต่การแจกแจงแบบทวินามการทดลองจะซ้าๆ กัน n ครั้ง ทั้งนี้การทดลองแต่ละครั้งเป็นอิสระต่อกัน ถ้า X เป็นจำนวนครั้งของความสาเร็จ จะได้ว่า X เป็นตัวแปรสุ่ม ที่มีการแจกแจงความน่าจะเป็นของ x คือ



    เมื่อ x = 0, 1, 2,…, n
  4. การแจกแจงแบบไฮเปอร์จิออเมตริก

    ในการทดลองที่เป็นการสุ่มหยิบของที่แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งเป็นของที่เราให้ความสนใจ ซึ่งการหยิบได้ของแบบนี้ถือเป็นความสำเร็จ และอีกกลุ่มหนึ่งถ้าหยิบได้ก็ถือว่าเป็นความไม่สำเร็จ ถ้าจำนวนของทั้งหมดมี N ชิ้น โดยแบ่งเป็นของที่เป็นความสำเร็จ k ชิ้น ดังนั้นของที่นับเป็นความไม่สำเร็จมี N – k ชิ้น ในการสุ่มหยิบของจำนวน n ชิ้น ถ้าให้ x จำนวนของที่นับเป็นความสำเร็จที่หยิบได้ จะได้ว่า x เป็นตัวแปรสุ่มที่มีการแจกแจงความน่าจะเป็นดังนี้



    เมื่อ x = 0, 1, 2, …, min {k, n}
  5. การแจกแจงทวินามลบ

    ในการทดลองซ้ำๆ กัน โดยที่การทดลองแต่ละครั้งมีสิ่งที่เรียกว่าความไม่สำเร็จกับความสำเร็จนั้น ถ้าให้ X เป็นจำนวนครั้งที่ทดลองแล้วได้ความสำเร็จเป็นครั้งที่ k จะได้ว่า x เป็นตัวแปรสุ่มที่มีการแจกแจงความน่าจะเป็นดังนี้



    เมื่อ x = k, k+1, k+2, … ทั้งนี้ p คือความน่าจะเป็นของความสำเร็จในแต่ละครั้ง
  6. การแจกแจงเรขาคณิต

    สำหรับตัวแปรสุ่มที่มีการแจกแจงทวินามลบ b*(x; k, p) ถ้า k = 1 จะหมายถึงว่าการทดลองนั้น
    สาเร็จเป็นครั้งแรกของการทดลองครั้งที่ x ดังนั้นถ้าให้ X คือจานวนครั้งของการทดลองดังกล่าว จะได้ว่า X เป็นตัวแปรสุ่มที่มีการแจกแจงความน่าจะเป็นคือ



    เมื่อ x = 0, 1, 2, …
  7. การแจกแจงปัวซอง

    ในการทดลองหนึ่งๆ ถ้าให้ X เป็นจานวนของเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งหรือในอาณาบริเวณหนึ่งๆ ถ้า λ เป็นค่าเฉลี่ยของจานวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่จากัดหรือในอาณาบริเวณที่จากัดดังกล่าวนั้น จะได้ว่า X เป็นตัวแปรสุ่มโดยที่มีการแจกแจงความน่าจะเป็นดังนี้



    เมื่อ x = 0, 1, 2, …


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น