วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วิทยาศาสตร์กับพระพุทธศาสนา

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 
เป็น
วันสำคัญของไทยและมีความสำคัญต่อวงการวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ไทย กำหนดให้ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ พ.ศ. 2411 ปัจจุบันมีการจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ขึ้นเป็นประจำทุกปี


 ซึ่งเมื่อ ปี พ.ศ.2411 ได้มีเหตุการณ์สำคัญ คือ สุริยุปราคาเต็มดวง ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณพยากรณ์เมื่อ พ.ศ.2409 ไว้ว่า  
สุริยุปราคาเต็มดวงที่จะเกิดขึ้นอีก 2 ปีข้างหน้านั้น จะเกิดขึ้นเมื่อ วันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 (หรือตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411)  และ จะเห็นเหตุการณ์สุริยคราสแบบเต็มดวงชัดเจนที่สุด คือ ที่ หมู่บ้านหัววาฬ ตำบลหว้ากอ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (และ ท่านได้ทำนายได้อย่างแม่นยำ)



วิทยาศาสตร์กับพระพุทธศาสนา
ในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึง เรื่องที่เกี่ยวข้องหรือสอดคล้องกันกับวิทยาศาสตร์ เช่น เจตคติต่อความรู้
(อย่าเชื่ออะไรง่ายๆโดยที่ยังไม่ได้พิสูจน์ด้วยตัวเอง) , ลักษณะของความรู้ (เป็นความรู้ที่เป็นเหตุและผล) , วิธีการแสวงหาความรู้ (การฟัง การคิด และ การปฏิบัติ) , การใช้สมาธิในการหาสิ่งใหม่ๆ ,
นิยาม 5 (พีชนิยาม (เปรียบกับ ชีววิทยา) , อุตุ
นิยาม (เปรียบกับ ฟิสิกส์ กับ เคมี) , จิตตนิยาม , กรรมนิยาม และ ธรรมนิยาม (เป็นกฎที่เกี่ยวกับ เหตุ และ ผล)) และ การพิสูจน์สิ่งที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฏก เป็นต้น

เจตคติต่อความรู้ในทางวิทยาศาสตร์ 





Bronoski , Diederich และ Whaley & Surratt ได้เขียนบทความเกี่ยวกับแนวคิดในการสอนวิทยาศาสตร์ไว้ในวารสาร The Kansas School Naturalist, Vol.35,No.4,  April 1989 [1] โดยสรุปได้ดังนี้
  • ชอบทำการทดลองหรือสำรวจตรวจสอบ
  • ตกลงใจอย่างมีเหตุผล
  • เชื่อว่าทุกปัญหามีคำตอบ 
  • แสวงหาสิ่งที่ง่าย
  • การปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์
  • ช่างสงสัย
  • ความแม่นยำ
  • ยอมรับกระบวนทัศน์
  • ยอมรับพลังของโครงสร้างเชิงทฤษฎี
  • เต็มใจที่จะเปลี่ยนความคิดเห็น
  • เคารพต่อความจริง
  • ไม่เชื่อในไสยศาสตร์หรืออำนาจลึกลับ และเห็นชอบคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์อย่างอัตโมมัติ
  • กระหายความรู้ ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนทางปัญญา
  • ชะลอการตัดสินใจ
  • ความตระหนักในเงื่อนไข
  • ความสามารถในการแยกมโนทัศน์พื้นฐานออกจากสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือไม่สำคัญ 
  • ยอมรับข้อมูลเชิงปริมาณ และซาบซึ้งในคณิตศาสตร์ในฐานะที่เป็นภาษาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ 
  • ความซาบซึ้งในความน่าจะเป็น และสถิติ
  • เข้าใจว่าความรู้ทั้งหมดมีข้อจำกัดในด้านความคงทน
  • การยอมรับข้อจำกัดของมนุษย์
ซึ่งจะตรงกับ กาลามสูตร ซึ่งสรุปได้ว่า อย่าปลงใจเชื่ออะไรง่ายๆจนกว่าจะรู้ด้วยตนเอง หรือ พิสูจน์ด้วยตัวเอง ว่า ความรู้นี้ มีโทษหรือไม่มีโทษ เมื่อรู้ด้วยตนแล้วให้ละความรู้ที่มีโทษ และ ปฎิบัติเฉพาะความรู้ที่ไม่มีโทษเพียงอย่างเดียว

วิธีการแสวงหาความรู้



จากบทความเรื่อง วิธีการแสวงหาความรู้ของมนุษย์ โดย น.ส.ธรรมนัด โถบำรุง [2] ได้กล่าวถึงวิธีการแสวงหาความรู้ว่า มี 6 วิธี คือ
  • การสอบถามจากผู้รู้
  • การศึกษาจากขนบธรรมเนียม
  • การใช้ประสบการณ์ 
  • การอนุมาน (เป็นกระบวนการคิดจากเรื่องทั่วไป ไปสู่เรื่องที่เจาะจง)
  • การอุปมาน (เป็นการหาข้อมูลจากส่วนย่อย ไปยัง ส่วนรวม)
  • วิธีการทางวิทยาศาสคร์ 
ซึ่งในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงวิธีการแสวงหาความรู้ ไว้ 3 วิธี คือ

  • ความรู้ที่ได้จากการฟัง
  • ความรู้ที่ได้จากการนึกคิด
  • ความรู้ที่ได้จากการหยุดคิด (หรือ สมาธิ)


ซึ่ง ความรู้ที่ได้จากการฟัง และ ความรู้ที่ได้จากการนึกคิด มักจะมีโดยทั่วไป แต่
ความรู้ที่ได้จากการหยุดคิด นั้นเป็นปัญญาที่ทำให้ได้ ทฤษฎี หรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เช่น August Kekulé ได้ค้นพบโครงสร้างโมเลกุลของเบนซินจากความฝัน [3] เป็นต้น

นิยาม 5

นักวิทยาศาสตร์มีความคาดหวังที่จะมีทฤษฎีสรรพสิ่งซึ่งสามารถอธิบายทุกสิ่งทุกอย่างได้ ซึ่งในปัจจุบันนี้ คือ ทฤษฎีสตริง และ ซุปเปอร์สตริง ในการหาคำตอบของการสั่นของอนุภาค [4]
แต่เมื่อ 2,600 ปีก่อน ได้ค้นพบมีการค้นพบทฤษฎีนี้ (หรือ นิยาม 5) ซึ่งมี

1. พีชนิยาม (กฎของสิ่งมีชีวิต)
2.อุตุนิยาม (กฎที่ใช้อธิบายตั้งแต่ อะตอม จนถึง จักรวาล ได้)
3.จิตตนิยาม (กฎที่ใช้อธิบายการทำงานของใจ (เห็น จำ คิด รู้))
4.กรรมนิยาม (กฎที่ใช้อธิบายเรื่องของเหตุ และ ผล)
5.ธรรมนิยาม (กฎที่ใช้อธิบายเรื่องความสัมพันธ์ของ 4 กฎที่เหลือ)

เนื่องจากปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ เน้นศึกษาเรื่องของวัตถุ แต่ไม่ได้ศึกษาเรื่องของจิตใจ  อันเป็นกุณแจสำคัญที่จะไขสู่ประตูแห่งการรู้แจ้ง


(ภาพจาก http://zasei.me/index.php?action=media;sa=media;in=432;preview)

cr.
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B9%87%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87_18_%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1_%E0%B8%9E.%E0%B8%A8._2411
http://book.dou.us/gb406.html

[1]-http://smtat.ipst.ac.th/index.php/2012-05-01-10-41-00/24-2
[2]-http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-3/methods_of_acquiring_knowledge/index.html
[3]-http://web.chemdoodle.com/kekules-dream
[4]-https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น