วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

108

เลข 108 เป็นเลขที่เรา ค่อนข้างได้ยินบ่อยทีเดียว ในวันนี้ จะมาบอกคุณสมบัติทางคณิตศาสตร์เบื้องต้นที่น่าสนใจ ของ ตัวเลข 108 และการพบเจออื่นๆ

คุณสมบัติทางคณิตศาสตร์เบื้องต้นที่น่าสนใจ ของ ตัวเลข 108
  • เป็นจำนวน Hyperfactorial ของ 3 (1^1 x 2^2 x 3^3 = 108)
  • เป็นขนาดของมุมภายใน ของ ห้าเหลี่ยมด้านเท่า
  • การแยกตัวประกอบ ของ 108 คือ (2^2 x 3^3)
  • ตัวหาร ของ 108 คือ 1,2,3,4,6,9,12,18,27,36,54,108

(ภาพจาก https://readlover.wordpress.com/2013/04/11/108-%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%99/)

เลข 108 เป็นเลขที่พบเจอได้ในทางศาสนา และ วัฒนธรรม เช่น 
  • ภาพการเกษียรสมุทร ที่ นครวัด มีเทวดา 54 ตน และ อสูร 54 ตน ได้ทำการกวนทะเลน้ำนม เพื่อให้ได้น้ำอมฤต 
  • ในศิลปะการป้องกันตัวของอินเดีย(Varma kalai) , อายุรเวท และ ศิลปะการป้องกันตัวของจีน มีจุดตายของร่างกาย มี 108 จุด
  • ในเรื่อง ซ้องกั๋ง (108 ผู้กล้าหาญแห่งเขาเหลียงซาน) กบฏ 108 คนได้ทำการสู้รบกับขุนนางกังฉิน
  • ร้านสะดวกซื้อ 108 Shop ของเครือสหพัฒน์ และ Lawson 108  ของเครือสหพัฒน์ และ Lawson


ซึ่งใน ทางพระพุทธศาสนา ก็พบเจอ เลขนี้ด้วย เช่น
  • จำนวนลูกประคำ 108 ลูก
  • จำนวนรอยมงคล 108 บนรอยพระพุทธบาท
ซึ่งเลขนี้ถือเป็นเลขมงคล (อาจจะเป็นเหตุผลในการตั้งชื่อ ร้านค้า บริษัท หรือ เว็ป ด้วย)
ซึ่ง ที่มาของ เลขนี้ คือ ลูกประคำ 
โดยมี 2 ที่มา คือ
  • พระพุทธคุณ 56 พระธรรมคุณ 34 พระสังฆคุณ 14

    โดย วิธีนับนั้นท่านกำหนดให้นับตามอักษร       พุทธคุณ  ๕๖   เริ่มตั้งแต่ 
    อิ  ติ  ปิ  โส  ภะ  คะ  วา  อะ  ระ  หัง  สัม  มา  สัม  พุท   โธ  วิช  ชา  จะ ระ  สัม  ปัน  โน  สุ  คะ  โต  โล  กะ  วิ  ทู  อะ  นุต  ตะ  โร  ปุ  ริ  สัท  ธัม  มะ  สา  ระ  ถิ  สัต  ถา  เท  วะ  มะ  นุส  สา  นัง  พุท  โธ  ภะ  คะ  วา   ติ
         นับรวมได้  ๕๖  คำ  
         พระธรรมคุณ  ๓๘   นับเริ่มตั้งแต่ 
    สฺวาก  ขา  โต  ภะ  คะ  วะ  ตา  ธัม  โม  สัน  ทิฏ  ฐิ  โก  อะ  กา  ลิ  โก  เอ  หิ  ปัส  สิ  โก  โอ  ปะ  นะ  ยิ โก  ปัจ  จัต  ตัง  เว  ทิ  ตัพ  โพ  วิญ  ญู  หี  ติ 
         นับรวมได้  ๓๘  คำ  
         ส่วนพระสังฆคุณ  ๑๔  นั้น  ท่านกำหนดให้ท่องนับท่อนเดียวคือ
      สุ ปะ  ฏิ  ปัน  โน  ภะ  คะ  วะ  โต  สา  วะ  กะ  สัง  โฆ 
         นับรวมได้  ๑๔  คำ
  • จำนวนดวงธรรม (โดย 1 ลูกประคำ แทน 1 ดวงธรรม)

    เนื่องจาก มนุษย์มีกายหยาบสุดถึงกายสุดละเอียด  18 กาย คือ

    (ภาพจาก http://www.dmc.tv/pages/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2.html)

    1. กายมนุษย์  
    2. กายมนุษย์ละเอียด  
    3. กายทิพย์  
    4. กายทิพย์ละเอียด
    5. กายรูปพรหม  
    6. กายรูปพรหมละเอียด
    7. กายอรูปพรหม 
    8. กายอรูปพรหมละเอียด 
    9. กายธรรมโคตรภู 
    10. กายธรรมโคตรภูละเอียด
    11. กายธรรมพระโสดา
    12. กายธรรมพระโสดาละเอียด
    13. กายธรรมพระสกิทาคา
    14. กายธรรมพระสกิทาคาละเอียด 
    15. กายธรรมพระอนาคา 
    16. กายธรรมพระอนาคาละเอียด 
    17. กายธรรมพระอรหัต 
    18. กายธรรมพระอรหัตละเอียด

    ซึ่งการดำเนินจิตจากกายมนุษย์หยาบ เพื่อไปสู่ความเป็นพระอรหันต์ ต้องผ่านด่าน 18 กายดังกล่าว

    และก่อนจะถึงแต่ละกายต้องผ่
    าน ดวงธรรม 6 ดวง คือ 


    1. ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    2. ดวงศีล 
    3. ดวงสมาธิ 
    4. ดวงปัญญา 
    5. ดวงวิมุติ 
    6. ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ 
    ซึ่งจำนวนดวงธรรมทั้งหมดที่ต้องผ่าน ในการเป็นพระอรหันต์ คือ 18 x 6 หรือ 108 ดวง


cr.

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

3 ทฤษฏี ที่เกี่ยวกับ พหุภพ



พหุภพ (Multiverse) หรือ เอกภพคู่ขนาน (Parallel Universes) คือแนวคิดตามสมมุติฐานว่ามีเอกภพ จำนวนมากมายนับไม่ถ้วน เกิดขึ้นและสลายไปอยู่ ตลอดเวลา (รวมถึงเอกภพของเราเป็นหนึ่งในนั้น) ซึ่งประกอบด้วยทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นจริงทางกายภาพ เช่น กาล อวกาศ รูปแบบทุกชนิดของสสาร พลังงาน โมเมนตัม และกฎทางฟิสิกส์รวมถึงค่าคงที่ต่างๆ ที่ครอบคลุมอยู่ 
3 ทฤษฏีทางวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวกับ พหุภพ

1. 
Bubble Universes หรือ เอกภพแบบฟองสบู่



    ซึ่ง ใน
ทฤษฏีนี้ ได้เปรียบเทียบ เอกภพ ไว้เหมือนกับ ฟองสบู่ โดย ในแต่ละเอกภพจะไม่เกี่ยวข้องกัน
และอาจมีค่าคงที่ของกฎต่างๆ แตกต่างกัน (เช่น π = 4 ในอีกเอกภพหนึ่ง

    

2. Membranes  


cr.http://creationwiki.org/M-theory


    ซึ่ง ในทฤษฏีนี้ ได้เปรียบเทียบ เอกภพ ไว้เหมือนกับ หนังสือ กล่าวคือ ใน โลก 3 มิติ ในแต่ละหน้าของหนังสือ (2 มิติ) มีพื้นผิวเป็น 3 มิติ เปรียบเสมือนกับ เอกภพ 3 มิติที่มีพื้นผิวเป็น 9 มิติ


3. Many-Worlds Hypothesis 

    ซึ่ง ในทฤษฏีนี้ ได้บอกว่า เอกภพ มี 4 มิติ และ มี หลายเส้นทางในมิติเวลา กล่าวคือ สมมุติเกิดเหตุการณ์ โยนเหรียญ ไม่จำกัด ครั้ง ซุึ่งจะออกหัวหรือก้อย อย่างใดอย่างหนึ่ง(สมมุติว่า ถ้าได้หัว คือ ได้เงิน แต่ถ้าได้ก้อยคือ เสียเงิน) โดยความน่าจะเป็นไม่เหมือนกันในแต่ละเอกภพ แต่เมื่อใดที่โยนเหรียญแล้ว การโยนเหรียญครั้งนั้น (สมมุติ ได้เป็นหัว) เราจะอยู่ในเอกภพที่เราได้เงินเพิ่ม ซึ่งจะไม่สามารถรับรู้ถึงเอกภพที่เราเสียเงิน


ซึ่งทั้ง 3 ทฤษฏีนี้ยังไม่มีการทดลองมารองรับ

cr.
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B8%9E
https://en.wikipedia.org/wiki/Multiverse
http://thespiritscience.net/2014/06/06/3-scientific-theories-about-the-multiverse-and-how-it-works/
http://www.vcharkarn.com/varticle/313
https://www.youtube.com/watch?t=41&v=Ywn2Lz5zmYg

วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วิทยาศาสตร์กับพระพุทธศาสนา

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 
เป็น
วันสำคัญของไทยและมีความสำคัญต่อวงการวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ไทย กำหนดให้ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ พ.ศ. 2411 ปัจจุบันมีการจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ขึ้นเป็นประจำทุกปี


 ซึ่งเมื่อ ปี พ.ศ.2411 ได้มีเหตุการณ์สำคัญ คือ สุริยุปราคาเต็มดวง ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณพยากรณ์เมื่อ พ.ศ.2409 ไว้ว่า  
สุริยุปราคาเต็มดวงที่จะเกิดขึ้นอีก 2 ปีข้างหน้านั้น จะเกิดขึ้นเมื่อ วันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 (หรือตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411)  และ จะเห็นเหตุการณ์สุริยคราสแบบเต็มดวงชัดเจนที่สุด คือ ที่ หมู่บ้านหัววาฬ ตำบลหว้ากอ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (และ ท่านได้ทำนายได้อย่างแม่นยำ)



วิทยาศาสตร์กับพระพุทธศาสนา
ในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึง เรื่องที่เกี่ยวข้องหรือสอดคล้องกันกับวิทยาศาสตร์ เช่น เจตคติต่อความรู้
(อย่าเชื่ออะไรง่ายๆโดยที่ยังไม่ได้พิสูจน์ด้วยตัวเอง) , ลักษณะของความรู้ (เป็นความรู้ที่เป็นเหตุและผล) , วิธีการแสวงหาความรู้ (การฟัง การคิด และ การปฏิบัติ) , การใช้สมาธิในการหาสิ่งใหม่ๆ ,
นิยาม 5 (พีชนิยาม (เปรียบกับ ชีววิทยา) , อุตุ
นิยาม (เปรียบกับ ฟิสิกส์ กับ เคมี) , จิตตนิยาม , กรรมนิยาม และ ธรรมนิยาม (เป็นกฎที่เกี่ยวกับ เหตุ และ ผล)) และ การพิสูจน์สิ่งที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฏก เป็นต้น

เจตคติต่อความรู้ในทางวิทยาศาสตร์ 





Bronoski , Diederich และ Whaley & Surratt ได้เขียนบทความเกี่ยวกับแนวคิดในการสอนวิทยาศาสตร์ไว้ในวารสาร The Kansas School Naturalist, Vol.35,No.4,  April 1989 [1] โดยสรุปได้ดังนี้
  • ชอบทำการทดลองหรือสำรวจตรวจสอบ
  • ตกลงใจอย่างมีเหตุผล
  • เชื่อว่าทุกปัญหามีคำตอบ 
  • แสวงหาสิ่งที่ง่าย
  • การปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์
  • ช่างสงสัย
  • ความแม่นยำ
  • ยอมรับกระบวนทัศน์
  • ยอมรับพลังของโครงสร้างเชิงทฤษฎี
  • เต็มใจที่จะเปลี่ยนความคิดเห็น
  • เคารพต่อความจริง
  • ไม่เชื่อในไสยศาสตร์หรืออำนาจลึกลับ และเห็นชอบคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์อย่างอัตโมมัติ
  • กระหายความรู้ ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนทางปัญญา
  • ชะลอการตัดสินใจ
  • ความตระหนักในเงื่อนไข
  • ความสามารถในการแยกมโนทัศน์พื้นฐานออกจากสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือไม่สำคัญ 
  • ยอมรับข้อมูลเชิงปริมาณ และซาบซึ้งในคณิตศาสตร์ในฐานะที่เป็นภาษาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ 
  • ความซาบซึ้งในความน่าจะเป็น และสถิติ
  • เข้าใจว่าความรู้ทั้งหมดมีข้อจำกัดในด้านความคงทน
  • การยอมรับข้อจำกัดของมนุษย์
ซึ่งจะตรงกับ กาลามสูตร ซึ่งสรุปได้ว่า อย่าปลงใจเชื่ออะไรง่ายๆจนกว่าจะรู้ด้วยตนเอง หรือ พิสูจน์ด้วยตัวเอง ว่า ความรู้นี้ มีโทษหรือไม่มีโทษ เมื่อรู้ด้วยตนแล้วให้ละความรู้ที่มีโทษ และ ปฎิบัติเฉพาะความรู้ที่ไม่มีโทษเพียงอย่างเดียว

วิธีการแสวงหาความรู้



จากบทความเรื่อง วิธีการแสวงหาความรู้ของมนุษย์ โดย น.ส.ธรรมนัด โถบำรุง [2] ได้กล่าวถึงวิธีการแสวงหาความรู้ว่า มี 6 วิธี คือ
  • การสอบถามจากผู้รู้
  • การศึกษาจากขนบธรรมเนียม
  • การใช้ประสบการณ์ 
  • การอนุมาน (เป็นกระบวนการคิดจากเรื่องทั่วไป ไปสู่เรื่องที่เจาะจง)
  • การอุปมาน (เป็นการหาข้อมูลจากส่วนย่อย ไปยัง ส่วนรวม)
  • วิธีการทางวิทยาศาสคร์ 
ซึ่งในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงวิธีการแสวงหาความรู้ ไว้ 3 วิธี คือ

  • ความรู้ที่ได้จากการฟัง
  • ความรู้ที่ได้จากการนึกคิด
  • ความรู้ที่ได้จากการหยุดคิด (หรือ สมาธิ)


ซึ่ง ความรู้ที่ได้จากการฟัง และ ความรู้ที่ได้จากการนึกคิด มักจะมีโดยทั่วไป แต่
ความรู้ที่ได้จากการหยุดคิด นั้นเป็นปัญญาที่ทำให้ได้ ทฤษฎี หรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เช่น August Kekulé ได้ค้นพบโครงสร้างโมเลกุลของเบนซินจากความฝัน [3] เป็นต้น

นิยาม 5

นักวิทยาศาสตร์มีความคาดหวังที่จะมีทฤษฎีสรรพสิ่งซึ่งสามารถอธิบายทุกสิ่งทุกอย่างได้ ซึ่งในปัจจุบันนี้ คือ ทฤษฎีสตริง และ ซุปเปอร์สตริง ในการหาคำตอบของการสั่นของอนุภาค [4]
แต่เมื่อ 2,600 ปีก่อน ได้ค้นพบมีการค้นพบทฤษฎีนี้ (หรือ นิยาม 5) ซึ่งมี

1. พีชนิยาม (กฎของสิ่งมีชีวิต)
2.อุตุนิยาม (กฎที่ใช้อธิบายตั้งแต่ อะตอม จนถึง จักรวาล ได้)
3.จิตตนิยาม (กฎที่ใช้อธิบายการทำงานของใจ (เห็น จำ คิด รู้))
4.กรรมนิยาม (กฎที่ใช้อธิบายเรื่องของเหตุ และ ผล)
5.ธรรมนิยาม (กฎที่ใช้อธิบายเรื่องความสัมพันธ์ของ 4 กฎที่เหลือ)

เนื่องจากปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ เน้นศึกษาเรื่องของวัตถุ แต่ไม่ได้ศึกษาเรื่องของจิตใจ  อันเป็นกุณแจสำคัญที่จะไขสู่ประตูแห่งการรู้แจ้ง


(ภาพจาก http://zasei.me/index.php?action=media;sa=media;in=432;preview)

cr.
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B9%87%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87_18_%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1_%E0%B8%9E.%E0%B8%A8._2411
http://book.dou.us/gb406.html

[1]-http://smtat.ipst.ac.th/index.php/2012-05-01-10-41-00/24-2
[2]-http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-3/methods_of_acquiring_knowledge/index.html
[3]-http://web.chemdoodle.com/kekules-dream
[4]-https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87

วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ศีล 5 (pt.2 องค์ประกอบ องค์แห่งศีล และ อานิสงส์)

 จากส่วนที่แล้ว [1] ได้กล่าวถึงความหมาย และ การรักษาศีล
ซึ่ง ในส่วนนี้ จะขออธิบาย
องค์ประกอบของศีล 5 ดังนี้



  • ปาณาติบาต (การฆ่า)
  • อทินนาทาน (การขโมย/การเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้)
  • กาเมสุมิจฉาจาร (การประพฤติไม่เหมาะสมทางเพศ)
  • มุสาวาท (การกล่าวเท็จ)
  • สุราเมรยมัชปมาทัฏฐาน (การบริโภคสุรายาเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท)

ข้อที่ 1 ปาณาติบาต (การฆ่า)


มี องค์แห่งศีล คือ
1. สัตว์นั้นมีชีวิต2. รู้อยู่ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต3. มีจิตคิดจะฆ่าสัตว์นั้น4. มีความพยายามฆ่าสัตว์นั้น5.สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น


อนุโลมการฆ่า
นอกจากการฆ่าสัตว์โดยตรงดังที่กล่าวมาแล้ว การทำร้ายร่างกาย การทรมานให้ได้รับความลำบาก เรียกว่า อนุโลมการฆ่า ก็เป็นสิ่งที่ควรเว้น อนุโลมการฆ่า มีลักษณะดังต่อไปนี้
1.การทำร้ายร่างกาย ในที่นี้หมายถึงการกระทำต่อมนุษย์ด้วยกัน อันได้แก่-ทำให้พิการ
-
ทำให้เสียโฉม-ทำให้บาดเจ็บ 

2.การทารุณกรรม ในที่นี้หมายถึงการทำต่อสัตว์เดรัจฉาน อันได้แก่
- การใช้ เช่น การใช้งานเกินกำลังของสัตว์ ไม่ให้สัตว์ได้พักผ่อน หรือไม่บำรุงเลี้ยงดูตามสมควร
- กักขัง เช่น การผูกมัด หรือขังไว้ โดยที่สัตว์นั้นไม่สามารถเปลี่ยนอิริยาบถได้ หรือไม่มีความสุข เช่น ขังนก ขังปลาไว้ในที่แคบ
- นำไป เช่น การผูกมัดสัตว์แล้วนำไป โดยผิดอิริยาบถของสัตว์ ทำให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมาน
- เล่นสนุก ได้แก่ การรังแกสัตว์ต่างๆ เพื่อความสนุกสนาน

- ผจญสัตว์ ได้แก่ การนำสัตว์มาต่อสู้กัน เช่น ชนโค    

การฆ่าโดยตรงถือว่าศีลขาด ส่วนอนุโลมการฆ่า ไม่นับว่าศีลขาด แต่ถือว่า ศีลทะลุ ศีลด่าง ศีลพร้อย ซึ่งจะให้ผลมากน้อยแตกต่างกันไป

การฆ่าสัตว์ มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ

1. คุณของสัตว์นั้น การฆ่าสัตว์ที่มีคุณมาก จะมีโทษมากกว่าการฆ่าสัตว์มีคุณน้อยหรือไม่มีคุณ เช่น ฆ่าพระอรหันต์ มีโทษมากกว่าฆ่าปุถุชน ฆ่าสัตว์ช่วยงานมีโทษมากกว่าฆ่าสัตว์ดุร้าย เป็นต้น2. ขนาดกาย สำหรับสัตว์เดรัจฉาน เมื่อเทียบกับพวกที่ไม่มีคุณเหมือนกัน การฆ่าสัตว์ใหญ่ มีโทษมากกว่าการฆ่าสัตว์เล็ก3. ความพยายาม มีความพยายามในการฆ่ามาก มีโทษมาก มีความพยายามน้อย มีโทษน้อย4. กิเลสหรือเจตนา กิเลส หรือเจตนาแรง มีโทษมาก กิเลสหรือเจตนาอ่อน มีโทษน้อย เช่นการฆ่าด้วยโทสะ หรือความเกลียดชัง มีโทษมากกว่าการฆ่าเพื่อป้องกันตัว

ข้อที่ 2 อทินนาทาน (การขโมย/การเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้)





มี องค์แห่งศีล คือ
1. ทรัพย์หรือสิ่งของนั้นมีเจ้าของหวงแหน2. รู้อยู่ว่าทรัพย์นั้นมีเจ้าของหวงแหน3. มีจิตคิดจะลักทรัพย์นั้น4. มีความพยายามลักทรัพย์นั้น5. ลักทรัพย์ได้ด้วยความพยายามนั้น


การลักทรัพย์แยกออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. โจรกรรม มี 14 ประเภท ได้แก่
- ลักขโมย ได้แก่ การขโมยทรัพย์ผู้อื่น เมื่อเขาไม่รู้ไม่เห็น
- ฉกชิง ได้แก่ การแย่งเอาทรัพย์ผู้อื่นซึ่งๆ หน้า
- ขู่กรรโชก ได้แก่ การทำให้เจ้าของทรัพย์เกิดความกลัว แล้วยอมให้ทรัพย์
- ปล้น ได้แก่ การยกพวก ถือเอาอาวุธเข้าปล้นทรัพย์ผู้อื่น
- ตู่ ได้แก่ การกล่าวตู่เอาทรัพย์ผู้อื่นมาเป็นของตน
- ฉ้อโกง ได้แก่ การโกงเอาทรัพย์ผู้อื่นมาเป็นของตน
- หลอก ได้แก่ การพูดปด เพื่อหลอกเอาทรัพย์ผู้อื่นมาเป็นของตน
- ลวง ได้แก่ การใช้เล่ห์เหลี่ยม ลวงเอาทรัพย์ผู้อื่นด้วยวิธีการต่างๆ เช่น โกงตาชั่ง
- ปลอม ได้แก่ การทำของไม่แท้ ให้เห็นว่าเป็นของแท้
- ตระบัด ได้แก่ การยืมของผู้อื่น แล้วยึดเป็นของตน
- เบียดบัง ได้แก่ การกินเศษกินเลย เบียดบังผลประโยชน์ของส่วนรวมมาเป็นของตน
- สับเปลี่ยน ได้แก่ การแอบเอาของๆ ตน ไปเปลี่ยนกับของผู้อื่นซึ่งดีกว่า
- ลักลอบ ได้แก่ การหลบภาษีการค้าขายสิ่งของผิดกฎหมาย
- ยักยอก ได้แก่ การที่ทรัพย์ของตนจะถูกยึด จึงยักยอกเอาไปไว้ที่อื่นเสีย เพื่อหลบเลี่ยง การถูกยึด
2. อนุโลมโจรกรรม มี 3 ประเภท ได้แก่
- การสมโจร เป็นการสนับสนุนให้เกิดการโจรกรรม เช่น การรับซื้อของโจร การให้ที่พัก อาศัย ให้ข้าวให้น้ำแก่โจร
- ปอกลอก เป็นการคบหาผู้อื่นด้วยหวังทรัพย์ พอเขาสิ้นทรัพย์ก็เลิกคบ เป็นการ ทำให้คนสิ้นเนื้อประดาตัว
- รับสินบน เช่น การที่ข้าราชการยอมทำผิดหน้าที่ เพื่อรับสินบน
3. ฉายาโจรกรรม (การกระทำที่เข้าข่ายการลักขโมย) มี 2 ประการ ได้แก่
- ผลาญ คือ สร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น โดยมิได้มุ่งหวังจะเอาทรัพย์ของ ผู้อื่นมาเป็นของตน เช่น การวางเพลิง
- หยิบฉวย คือ การถือทรัพย์ผู้อื่นมาด้วยความมักง่าย ถือวิสาสะ
การลักทรัพย์ มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ
1. คุณค่าของทรัพย์สินสิ่งของนั้น
2. คุณความดีของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์นั้น
3. ความพยายามในการลักทรัพย์นั้น

ข้อที่ 3 กาเมสุมิจฉาจาร (การประพฤติไม่เหมาะสมทางเพศ)

องค์แห่งศีลที่ผิดจากการประพฤติผิดในกามต้องประกอบด้วย คือ     
1. หญิงหรือชายที่ไม่ควรละเมิด
2. มีจิตคิดจะเสพเมถุน
3. ประกอบกิจในการเสพเมถุน
4. ยังอวัยวะเพศให้ถึงกัน
หญิงที่ต้องห้าม มี 3 จำพวก
1. หญิงมีสามี
2. หญิงที่อยู่ในความปกครองดูแลของบิดามารดาหรือญาติ
3. หญิงที่ประเพณีหวงห้าม เช่น หญิงที่กฎหมายหวงห้าม หญิงนักบวช
ชายที่ต้องห้าม มี 2 จำพวก
1. ชายที่ไม่ใช่สามีของตน
2. ชายที่ประเพณีหวงห้าม เช่น นักบวช
การประพฤติผิดในกาม มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ
1. คุณความดีของผู้ที่ถูกละเมิด
2. ความแรงของกิเลส
3. ความเพียรพยายามในการประพฤติผิดในกามนั้น

ข้อที่ 4 มุสาวาท (การกล่าวเท็จ)
องค์แห่งศีลที่ผิดจากการการพูดเท็จต้องประกอบด้วย คือ   
1. เรื่องไม่จริง

2. มีจิตคิดจะพูดให้ผิดไปจากความจริง
3. พยายามที่จะพูดให้ผิดไปจากความจริง
4. คนฟังเข้าใจความที่พูดนั้น
ลักษณะของการพูดเท็จ การพูดเท็จ มี 7 ประการ คือ
- การพูดปด ได้แก่ การโกหก

- การสาบาน ได้แก่ การทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อด้วยการสาบาน
- การทำเล่ห์กระเท่ห์ ได้แก่ การอวดอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันไม่เป็นจริง
- มารยา ได้แก่ การแสดงอาการให้เขาเห็นผิดจากที่เป็นจริง
- ทำเลศ ได้แก่ การพูดเล่นสำนวน คลุมเครือ ให้คนฟังเข้าใจผิด
- พูดเสริมความ ได้แก่ การเสริมให้มากกว่าความเป็นจริง
- พูดอำความ ได้แก่ การตัดข้อความที่ไม่ประสงค์จะให้รู้ออกเสีย เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ที่คลาดเคลื่อน
การพูดอนุโลมการพูดเท็จ มี 2 ประการ คือ
1. อนุโลมพูดเท็จ คือ เรื่องที่ไม่จริง แต่พูดโดยมีเจตนาให้คนอื่นเชื่อถือ ได้แก่

- เสียดแทง เป็นการว่าผู้อื่นให้เจ็บใจ เช่น การประชด การด่า
- สับปลับ เป็นการพูดปดด้วยความคะนองปาก
2. ปฏิสสวะ คือ การรับคำของผู้อื่นด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์ แต่ภายหลังเกิดกลับใจไม่ทำตาม ที่รับนั้น ได้แก่
- ผิดสัญญา คือ การที่สองฝ่ายทำสัญญาต่อกัน แต่ภายหลังฝ่ายหนึ่งได้บิดพลิ้ว ไม่ทำตาม ที่สัญญาไว้
- เสียสัตย์ คือ การที่ฝ่ายหนึ่งได้ให้คำสัตย์ไว้ แต่ภายหลังได้บิดพลิ้วไม่ทำตามนั้น
- คืนคำ คือการรับคำว่าจะทำสิ่งนั้นๆ โดยไม่มีข้อแม้ แต่ภายหลังหาได้ทำตามนั้นไม่
ยถาสัญญา คือ การพูดตามโวหารที่ตนเองจำได้ ถือว่าไม่ผิดศีล มี 4 ประการ
1. พูดโวหาร ได้แก่ การพูดหรือเขียนตามธรรมเนียม เช่น ขอแสดงความเคารพอย่างสูง ซึ่ง ใจจริงอาจไม่เคารพเลยก็ได้ เช่นนี้ถือว่าไม่ผิดศีล
2. การเล่านิทานหรือนิยายให้ผู้อื่นฟัง หรือแต่งเรื่องขึ้นเพื่อใช้เป็นบทละคร หรือภาพยนตร์
3. การพูดด้วยความเข้าใจผิด
4. การพูดเพราะความพลั้งเผลอ
การพูดเท็จ มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ
1. ความเสียหายที่เกิดขึ้นว่ามากน้อยเพียงใด
2. คุณความดีของผู้ที่ถูกละเมิด
3. ผู้พูดนั้นเป็นใคร เช่น
- คฤหัสถ์ที่โกหกว่า ไม่มีŽ เพราะไม่อยากให้ของของตน อย่างนี้มีโทษน้อย แต่การเป็นพยาน เท็จมีโทษมาก
- บรรพชิตพูดเล่นมีโทษน้อย แต่การพูดว่าตน รู้เห็นŽ ในคุณวิเศษที่ตนไม่รู้ไม่เห็นมีโทษมาก

ข้อที่ 5 สุราเมรยมัชปมาทัฏฐาน (การบริโภคสุรายาเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท)
องค์แห่งศีลที่ผิดจากการดื่มน้ำเมาต้องประกอบด้วย คือ
1. น้ำที่ดื่มเป็นน้ำเมา
2. มีจิตคิดจะดื่ม
3. พยายามดื่ม
4. น้ำเมานั้นล่วงพ้นลำคอลงไป
การดื่มน้ำเมา มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ
1. อกุศลจิตหรือกิเลสในการดื่ม
2. ปริมาณที่ดื่ม
3. ผลที่เกิดจากการกระทำผิดพลาด ชั่วร้าย ที่ตามมาจากการดื่มน้ำเมา
- สุรา ได้แก่ น้ำเมาที่ถูกกลั่นให้มีรสชาติเข้มข้น เช่น เหล้าต่างๆ
- เมรัย ได้แก่ น้ำเมาที่ไม่ได้กลั่น เช่น เหล้าดิบ กระแช่ น้ำตาลเมา ฯลฯ
     นอกจากนี้ การงดเว้นจากการเสพสิ่งเสพติดต่างๆ เช่น ฝิ่น กัญชา ยาบ้า เฮโรอีน รวมถึงวัตถุทุก ชนิดที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท ก่อให้เกิดความมึนเมา ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนได้ ก็รวมอยู่ในศีลข้อนี้เช่นกัน 

อานิสงส์การรักษาศีล

 การรักษาศีล ไม่เพียงเป็นการรักษาความเป็นปกติของความเป็นมนุษย์ หรือเพื่อรักษากฎเกณฑ์ ในการอยู่ร่วมกันในสังคมเอาไว้เท่านั้น แต่ยังเป็นการให้ทานที่มีคุณค่ายิ่งกว่าการให้วัตถุใดๆ ทั้งสิ้น เพราะในขณะที่ใครคนหนึ่งรักษาศีล ทุกชีวิตจะได้รับประโยชน์อันมหาศาล นั่นคือได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทันที กล่าวคือ
เมื่อเรารักษาศีลข้อที่ 1 คือ ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ย่อมได้ชื่อว่า ให้ชีวิต ให้ความปลอดภัยแก่ชีวิต ของสรรพสัตว์ทั้งหลาย เป็นการให้สิ่งที่สูงค่ายิ่งกว่าทรัพย์ใดๆ
เมื่อเรารักษาศีลข้อที่ 2 คือ ไม่ลักทรัพย์ ย่อมได้ชื่อว่า ให้ความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น เป็นการให้ฐานะความเป็นอยู่อันมั่นคง
เมื่อเรารักษาศีลข้อที่ 3 คือ ไม่ประพฤติผิดในกาม ย่อมได้ชื่อว่า ให้ความสุข ให้ความปลอดภัย แก่บุตร ธิดา ภรรยา สามีของผู้อื่น เป็นการให้ความคุ้มครองแก่สถาบันครอบครัวอย่างดีที่สุด
เมื่อเรารักษาศีลข้อที่ 4 คือ ไม่กล่าวคำเท็จ ย่อมได้ชื่อว่า ให้ความจริงแก่ผู้อื่น ทำให้เกิดความสบายใจในการดำเนินชีวิต โดยไม่ต้องหวาดระแวงซึ่งกันและกัน
เมื่อเรารักษาศีลข้อที่ 5 คือ ไม่ดื่มสุราเมรัย ย่อมได้ชื่อว่า ให้ความปลอดภัยแก่ทุกสิ่ง เพราะคนที่ประมาทขาดสตินั้น สามารถทำความชั่วได้ทุกอย่าง จะฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม หรือพูดเท็จก็ทำได้ทั้งสิ้น

      การรักษาศีล จึงเป็นบุญอันพิเศษอย่างยิ่ง เพราะได้ทั้งบุญจากการบำเพ็ญมหาทาน และบุญจากการรักษาศีล และนี่เป็นเพียงศีล 5 อันเป็นเบื้องต้นเท่านั้น หากรักษาศีลในข้อที่สูงยิ่งขึ้นไป ย่อมเป็น มหาทานอันยิ่งใหญ่ เป็นบุญอันยิ่งใหญ่ ที่สามารถชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ อย่างสุดที่จะประมาณได้

cr. 
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%8D%E0%B8%88%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A5
http://www.kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=7583
http://www.dmc.tv/pages/praying/%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A5%205.html

[1] - http://math-in-life.blogspot.com/2015/08/Sila-5.html