วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วันอาสาฬหบูชา และ วันเข้าพรรษา

เนื่องด้วยวันที่ 30 กรกฎาคม และ วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ตรงกับ วันอาสาฬหบูชา และ วันเข้าพรรษา ดังนั้น จึงขอลงประวัติของทั้ง 2 วันนี้นะครับ

  วันอาสาฬหบูชา 
เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของพระพุทธศาสนา ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ในสมัยพุทธกาลมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น 4 ประการ ดังต่อไปนี้
       1. เป็นวันที่พระบรมศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรก แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 รูป ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี
        2. เป็นวันที่พระบรมศาสดาทรงได้พระสาวกองค์แรก คือ ท่านโกญฑัญญะได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันองค์แรก
      3. เป็นวันที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นรูปแรก คือ พระอัญญาโกญฑัญญะ ภายหลังจากที่ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันแล้ว ก็ได้ทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ทรงประทานการอุปสมบท ยกขึ้นเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา
        4. เป็นวันเกิดขึ้นของพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครบเป็นครั้งแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นพยานในการตรัสรู้ธรรม ความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของพระพุทธองค์ก็ครบถ้วนบริบูรณ์ คือ มิใช่เพียงแค่ตรัสรู้ธรรมเพียงพระองค์เดียวอย่างพระปัจเจกพุทธเจ้า [1]


ซึ่ง พระปฐมเทศนา ของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่แสดงให้กับปัญจวัคคีย์ คือ "ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร"
ซึ่งมีเนื้อหา คือ

  • ส่วนที่สุดสองอย่างที่พระพุทธศาสนาปฏิเสธ (คือ "กามสุขัลลิกานุโยค" และ  "อัตตกิลมถานุโยค")
  • มัชฌิมาปฏิปทา (หรือ เส้นทางสายกลาง ซึ่งได้แก่ มรรคมีองค์แปด)
  • อริยสัจสี่



  วันเข้าพรรษา
ในเรื่องความเป็นมาของวันเข้าพรรษา ถ้าว่ากันตามประวัติย่อๆ คือ ในยุคต้นพุทธกาล ก็ยังไม่มีการเข้าพรรษา เพราะฉะนั้นตลอดทั้งปี เมื่อพระภิกษุมีความเห็นว่าท่านควรจะไปเทศน์ ไปสอนญาติโยมที่ไหนได้ ท่านพอมีเวลา ท่านก็จะไป หรือไม่ได้ไปเทศน์ไปสอนใคร ถ้าเห็นว่าที่ไหนมันเงียบ มันสงัดดี เหมาะในการที่จะไปบำเพ็ญภาวนา ทำสมาธิของท่าน ท่านก็จะไป ซึ่งแน่นอน ส่วนมากก็จะอยู่ในเขตที่เป็นป่าเป็นเขา ไกลๆออกไปจากตัวเมือง หรือว่าต้องผ่านไปในชนบทนั่นเอง
     จากการที่ท่านต้องไปอย่างนี้ เนื่องจากในฤดูฝนที่เขาทำไร่ทำนากันอยู่นั้น บางครั้ง ข้าวกล้าของเขาก็เพิ่งหว่านลงไปในนา มันเพิ่งงอกออกมาใหม่ๆ บางทีก็ดูเหมือนหญ้า พระภิกษุก็เดินผ่านไป นึกว่ามันเป็นดงหญ้า ก็เลยย่ำข้าวกล้าของเขาไป ซึ่งก็ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน เขาก็มาฟ้องพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าพระไปย่ำข้าวของเขาที่ปลูกเอาไว้ หว่านเอาไว้ นกกาฤดูฝนมันยังอยู่กับรังของมัน พระทำไมไม่รู้จักพักบ้าง /ประวัติวันเข้าพรรษา
     เพื่อตัดปัญหานี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เลยทรงกำหนดให้พระภิกษุ เมื่อเข้าพรรษา หรือเมื่อเข้าฤดูฝน ให้พระอยู่กับที่ คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 8 จนกระทั่งขึ้น 15 ค่ำเดือน11 ให้อยู่เป็นที่เป็นทาง ไม่ไปทำภาวนาที่ไหน ไม่ไปเทศน์โปรดใคร ถ้าใครต้องการให้โปรด ก็มาที่วัดก็แล้วกัน มาหาท่าน ไม่ใช่ท่านไปหาเขา กำหนดเป็นอย่างนี้ไป เพื่อตัดปัญหาไม่ให้ใครมาบ่นลูกของพระองค์ได้
     แต่อีกมุมมองหนึ่ง พระองค์ทรงถือโอกาสที่เกิดเป็นปัญหานี้ ได้ทรงเปลี่ยนคำครหาให้กลายเป็นโอกาสดีของพระภิกษุว่า ถ้าอย่างนั้นพระภิกษุอยู่เป็นที่ในวัดวาอาราม เพื่อที่จะให้พระใหม่ได้รับการอบรมจากพระเก่าได้เต็มที่ เพราะว่าจริงๆ แล้ว ในการอบรมถ่ายทอดศีลธรรม ถ่ายทอดธรรมวินัยให้แก่กันและกันนั้น ถ้าทำอย่างต่อเนื่อง ทำเป็นที่เป็นทางต่อเนื่องกันทุกวันทุกวัน อย่างนี้จะเป็นการดี การศึกษาธรรมะอย่างต่อเนื่องมีผลดี [2]


ซึ่ง วันเข้าพรรษา นั้นเป็นสัญญาณ ว่า เป็นช่วงฤดูฝนแล้ว และ เป็นช่วงที่พระภิกษุสงฆ์อยู่จำพรรษา ณ วัดวาอาราม (และ ไม่เดินทางไปจำวัดที่อื่นหากไม่มีเหตุจำเป็น) 





วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สลากกินแบ่ง และ การลงทุน

สลากกินแบ่งนั้น แบ่งเป็น 5 ประเภท คือ

  • สลากแบบธรรมดา
    เป็นสลากที่ตัวผู้เล่นเองจะไม่สามารถเลือกหมายเลขที่ต้องการได้ จะต้องทำการซื้อในจำนวนมากจึงจะมีโอกาสถูกมากขึ้น แต่เนื่องจากหมายเลขเองก็จะมีอยู่จำกัดตามจำนวนสลากที่พิมพ์ออกมาเท่านั้น (ประเทศที่มีสลากประเภทนี้ เช่น ไทย ญี่ปุน เยอรมัน เป็นต้น)
  • สลากล็อตโตเป็นสลากที่ผู้เล่าทุกคนมีโอกาสในการเลือกซื้อสลากหมายเลขใดก็ได้ หรือจำจำนวนเท่าใดก็ได้ แล้วแต่ความประสงค์ที่จะต้องการซื้อ
  • สลากแบบรู้ผลทันที
    เป็นสลากที่ผู้เล่นทราบผลการออกรางวัลทันทีที่เล่น โดยเป็นนิยมเล่นกันมากในประเทศสหรัฐอเมริกา
  • สลากตัวเลข
    เป็นสลากที่
    ทำการเลือกหมายเลขใดก็ได้ตามแต่ตัวเองต้องการ
  • สลากกีฬา
    เป็นสลากที่
    มีลักษณะเหมือนกับการทายผลการแข่งขันกีฬา
ซึ่งคนส่วนหนึ่งก็หวังรวยทางลัด หรือ หารายได้เสริม ด้วยการเล่นสลากกินแบ่ง ซึ่งต้องลงทุน

ในที่นี้จะกล่าวถึง 
สลากแบบธรรมดาของไทย (บนดิน) เท่านั้น



จากรูป ได้กล่าวถึง สลาก 1 ฉบับ ราคา 40 บาท (ซึ่ง 1 ชุด มี 1,000,000 ฉบับ)
ซึ่ง
รางวัลที่ 1 มี 1 รางวัล มีมูลค่า 2,000,000 บาท
รางวัลที่ 2 มี 5 รางวัล มีมูลค่า 100,000 บาท
รางวัลที่ 3 มี 10 รางวัล มีมูลค่า 40,000 บาท
รางวัลที่ 4 มี 50 รางวัล มีมูลค่า 20,000 บาท
รางวัลที่ 5 มี 100 รางวัล มีมูลค่า 10,000 บาท
รางวัลใกล้เคียงรางวัลที่ 1 มี 2 รางวัล มีมูลค่า 50,000 บาท
รางวัลเลขท้าย 3 ตัว (เสี่ยง 4 ครั้ง) มี 4,000 รางวัล มีมูลค่า 2,000 บาท
รางวัลเลขท้าย 2 ตัว (เสี่ยง 1 ครั้ง) มี 10,000 รางวัล มีมูลค่า 1,000 บาท

ดังนั้น สลาก 1 ชุด มี 14,168 รางวัล มีมูลค่า 23,000,000 บาท (จากรูป)

แสดงว่า เมื่อเราลงทุน กับสลาก 1 ฉบับ ซึ่งมีมูลค่า 40 บาท และสลาก 1 ฉบับก็ให้รางวัล 23 บาท 
นั้นหมายความว่า ในการซื้อ สลาก 1 ฉบับ เราจะขาดทุน 17 บาท เสมอ
(อีกนัยหนึ่ง คือ เจ้ามือ จะได้กำไร 17 บาทจากฉลาก 1 ใบเสมอ)

ดังนั้น การลงทุนด้วยสลากกินแบ่ง นั้น เป็นการลงทุนที่เสียเปล่า (ถ้าไม่ได้เป็นเจ้ามือเสียเอง)
cr. 
http://www.glo.or.th/main.php?filename=glo_lotto
http://www.glo.or.th/ewt_news.php?nid=1154

วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วิธีการทดสอบว่าจำนวนหารด้วยเลขใดลงตัวบ้าง

วิธีการทดสอบนี้ สามารถจำนวนหนึ่งสามารถหารด้วยอีกจำนวนลงตัวหรือไม่ การหารลงตัวหมายถึงหารได้โดยไม่เหลือเศษ (ในกรณีจำนวนใหญ่ๆ)
ในที่นี้ จะกล่าวถึง 
การหารลงตัว 1 ถึง 20 ลงตัว

สำหรับ 1 นั้น ทุกจำนวนสามารถหาร 1 ได้เสมอ 


สำหรับ 2 นั้น ให้ดูแค่ตัวท้าย (ถ้าเป็นจำนวนคู่ ถือว่า หารลงตัว)
 เช่น 375152 หาร 2 ลงตัว แต่ 489621 หาร 2 ไม่ลงตัว

สำหรับ 3 นั้น ให้นำตัวเลขทุกตัวมาบวกกัน (ถ้าจำนวนนั้นหารด้วย 3 ลงตัว ถือว่า หารลงตัว)
 เช่น 14124 หาร 3 ลงตัว (1 + 4 + 1 + 2 + 4 = 12 , 1 + 2 = 3)   แต่ 53243 หาร 3 ไม่ลงตัว (5 + 3 + 2 + 4 + 3 = 17 , 1 + 7 = 8)

สำหรับ 4 นั้น ให้ดูแค่ 2 ตัวท้าย (ถ้าจำนวนนั้นหารด้วย 4 ลงตัว ถือว่า หารลงตัว)
 เช่น 375352 หาร 4 ลงตัว (52 = 4 x 13) แต่ 489622 หาร 4 ไม่ลงตัว (22 = (4 x 5) + 2)

สำหรับ 5 นั้น ให้ดูแค่ตัวท้าย (ถ้าเป็น 5 หรือ 0 ถือว่า หารลงตัว)
 เช่น 1414235 หาร 5 ลงตัว แต่ 1525354 หาร 5 ไม่ลงตัว

สำหรับ 6 นั้น ให้นำตัวเลขทุกตัวมาบวกกัน และ ดูแค่ตัวท้าย(ถ้าจำนวนนั้นหารด้วย 3 ลงตัว และเป็นจำนวนคู่ ถือว่า หารลงตัว) 
 เช่น 14124 หาร 6 ลงตัว (1 + 4 + 1 + 2 + 4 = 12 , 1 + 2 = 3) 
 แต่   24435 หาร 6 ไม่ลงตัว 

สำหรับ 7 นั้น มี 2 วิธี
  •  ให้นำตัวเลขตัวท้ายคูณด้วย 2 แล้ว มาลบกับตัวข้างหน้าที่เหลือ
    (ถ้าจำนวนนั้นหารด้วย 7 ลงตัว หรือ 0 ถือว่า หารลงตัว) เช่น 999999 หาร 7 ลงตัว(99999 - (2 x 9) = 99999 - 18 = 99981 , 9998 - (2 x 1) = 9998 - 2 = 9996 , 999 - (2 x 6) = 999 - 12 = 987 , 98 - (2 x 7) = 98 - 14 = 84 8 - (2 x 4) = 8 - 8 = 0 แต่  989 หาร 7 ไม่ลงตัว (98 - (2 x 9) = 98 - 18 = 80 8 - (2 x 0) = 8 - 0 = 8 = (7 x 1) + 1
  •  ให้นำตัวเลขตัวท้ายคูณด้วย 5 แล้ว มาบวกกับตัวข้างหน้าที่เหลือ
    (ถ้าจำนวนนั้นหารด้วย 7 ลงตัว หรือ 0 ถือว่า หารลงตัว)
     เช่น 999999 หาร 7 ลงตัว(99999 + (5 x 9) = 99999 + 45 = 100044 , 10004 + (5 x 4) = 10004 + 20 = 10024, 1002 + (5 x 4) = 1002 + 20 = 1022 , 102 + (5 x 2) = 102 + 10 = 112 ,
     11 + (5 x 2) = 11 + 10 = 21 ,
     2 + (5 x 1) = 2 + 5 = 7 แต่  989 หาร 7 ไม่ลงตัว (98 + (5 x 9) = 98 + 45 = 143 , 14 + (5 x 3) = 14 + 15 = 29 = (7 x 4) + 1
สำหรับ 8 นั้น ให้ดูแค่ 3 ตัวท้าย (ถ้าจำนวนนั้นหารด้วย 8 ลงตัว ถือว่า หารลงตัว)
 เช่น 375352 หาร 8 ลงตัว (352 = 8 x 44) แต่ 489622 หาร 8 ไม่ลงตัว (622 = (8 x 77) + 6)

สำหรับ 9 นั้น ให้นำตัวเลขทุกตัวมาบวกกัน 
(เหมือนกรณี 3 แต่ว่า จำนวนนั้นหารด้วย 9 ลงตัว ถือว่า หารลงตัว)
 เช่น 53244 หาร 9 ลงตัว (5 + 3 + 2 + 4 + 4 = 18 , 1 + 8 = 9)
 แต่  14124 หาร 9 ไม่ลงตัว (1 + 4 + 1 + 2 + 4 = 12 , 1 + 2 = 3) 

สำหรับ 10 นั้น ให้ดูแค่ตัวท้าย (ถ้าเป็น 0 ถือว่า หารลงตัว)
 เช่น 1525350 หาร 10 ลงตัว แต่ 1414235 หาร 10 ไม่ลงตัว

สำหรับ 11 นั้น ให้นำตัวเลขที่อยู่อันดับคู่มาบวกกัน แล้ว มาลบกับตัวเลขที่อยู่อันดับคี่มาที่มาบวกกัน
(ถ้าจำนวนนั้นหารด้วย 11 ลงตัว หรือ 0 ถือว่า หารลงตัว)
 เช่น 142857 หาร 11 ลงตัว ((1+2+5)-(4+8+7) = 8 - 19 = -11 = 11 x -1)
 แต่   241785 หาร 11 ไม่ลงตัว ((2+1+8)-(4+7+5) = 13 - 16 = -3 = (11 x -1) + 8 )

สำหรับ 13 นั้น ให้นำตัวเลขตัวท้ายคูณด้วย 4 แล้ว มาบวกกับตัวข้างหน้าที่เหลือ
(ถ้าจำนวนนั้นหารด้วย 13 ลงตัว หรือ 0 ถือว่า หารลงตัว)
 เช่น 28561 หาร 13 ลงตัว(2856 + (4 x 1) = 2856 + 4 = 2860 ,
 28 +
 (4 x 6) = 28 + 24 = 52 = (13 x 4)
 แต่  4859 หาร 13 ไม่ลงตัว 
(485 + (4 x 9) = 485 + 36 = 521 ,
 52 + (4 x 1) = 52 + 4 = 56  = (13 x 4) + 4

สำหรับ 16 นั้น ให้ดูแค่ 4 ตัวท้าย (ถ้าจำนวนนั้นหารด้วย 16 ลงตัว ถือว่า หารลงตัว)
 เช่น 375360 หาร 16 ลงตัว (5360 = 16 x 335) แต่ 489622 หาร 16 ไม่ลงตัว (9622 = (16 x 601) + 6)

สำหรับ 17 นั้น ให้นำตัวเลขตัวท้ายคูณด้วย 5 แล้ว มาลบกับตัวข้างหน้าที่เหลือ
(ถ้าจำนวนนั้นหารด้วย 17 ลงตัว หรือ 0 ถือว่า หารลงตัว)
 เช่น 3825 หาร 17 ลงตัว(382 - (5 x 5) = 382 - 25 = 357 ,
 35
 - (5 x 7) = 35 - 35 = 0
 แต่  2997 หาร 17 ไม่ลงตัว 
(299 - (5 x 7) = 299 - 35 = 264
 26 - (5 x 4) = 26 - 20 = 6

สำหรับ 19 นั้น ให้นำตัวเลขตัวท้ายคูณด้วย 2 แล้ว มาบวกกับตัวข้างหน้าที่เหลือ
(ถ้าจำนวนนั้นหารด้วย 19 ลงตัว หรือ 0 ถือว่า หารลงตัว)
 เช่น 6859 หาร 19 ลงตัว(685 + (2 x 9) = 685 + 18 = 703 ,
 70 +
 (2 x 3) = 70 + 6 = 76 ,
 
7 + (2 x 6) = 7 + 12 = 19
 แต่  2997 หาร 19 ไม่ลงตัว 
(299 + (2 x 7) = 299 + 14 = 313 ,
 31 + (2 x 3) = 31 + 6 = 37  = (19 x 1) + 18


* กรณี พิเศษ

สำหรับ 21 นั้น ให้นำตัวเลขตัวท้ายคูณด้วย 2 แล้ว มาลบกับตัวข้างหน้าที่เหลือ
(ถ้าจำนวนนั้นหารด้วย 21 ลงตัว หรือ 0 ถือว่า หารลงตัว)
 เช่น 999999 หาร 21 ลงตัว(99999 - (2 x 9) = 99999 - 18 = 99981 ,
 9998
 - (2 x 1) = 9998 - 2 = 9996 ,
 
999 - (2 x 6) = 999 - 12 = 987 ,
 98 - (2 x 7) = 98 - 14 = 84
 8 - (2 x 4) = 8 - 8 = 0
 แต่  2997 หาร 21 ไม่ลงตัว 
(299 - (2 x 7) = 299 - 14 = 285
 28 - (2 x 5) = 28 - 10 = 18

สำหรับ 27 นั้น ให้นำตัวเลขตัวท้ายคูณด้วย 8 แล้ว มาลบกับตัวข้างหน้าที่เหลือ
(ถ้าจำนวนนั้นหารด้วย 27 ลงตัว หรือ 0 ถือว่า หารลงตัว)
 เช่น 729 หาร 27 ลงตัว(72 - (8 x 9) = 72 - 72 = 0
 แต่  2991 หาร 27 ไม่ลงตัว 
(299 - (8 x 1) = 299 - 8 = 291
 29 - (8 x 1) = 29 - 8 = 21

สำหรับ 33 นั้น ให้นำตัวเลขทุกๆ 2 ตัวมาบวกกัน 
(ถ้าจำนวนนั้นหารด้วย 33 ลงตัว ถือว่า หารลงตัว)
 เช่น 21012 หาร 33 ลงตัว (2 + 10 + 21 = 33)
 แต่  14729 หาร 33 ไม่ลงตัว (1 + 47 + 29 = 81 = (33 x 2) + 15) 

สำหรับ 39 นั้น ให้นำตัวเลขตัวท้ายคูณด้วย 4 แล้ว มาบวกกับตัวข้างหน้าที่เหลือ
(ถ้าจำนวนนั้นหารด้วย 39 ลงตัว หรือ 0 ถือว่า หารลงตัว)
 เช่น 1521 หาร 39 ลงตัว(152 + (4 x 1) = 152 + 4 = 156 = 39 x 4
 แต่  28561 หาร 39 ไม่ลงตัว
(2856 + (4 x 1) = 2856 + 4 = 2860 ,
 28 +
 (4 x 6) = 28 + 24 = 52 = (39 x 1) + 13

สำหรับ 49 นั้น ให้นำตัวเลขตัวท้ายคูณด้วย 5 แล้ว มาบวกกับตัวข้างหน้าที่เหลือ
(ถ้าจำนวนนั้นหารด้วย 7 ลงตัว หรือ 0 ถือว่า หารลงตัว) เช่น 999999 หาร 7 ลงตัว
(99999 + (5 x 9) = 99999 + 45 = 100044 ,
 10004 + (5 x 4) = 10004 + 20 = 10024,
 1002 + (5 x 4) = 1002 + 20 = 1022 ,
 102 + (5 x 2) = 102 + 10 = 112 ,
 11 + (5 x 2) = 11 + 10 = 21 ,
 2 + (5 x 1) = 2 + 5 = 7
 แต่  989 หาร 7 ไม่ลงตัว 
(98 + (5 x 9) = 98 + 45 = 143 ,
 14 + (5 x 3) = 14 + 15 = 29 = (7 x 4) + 1)

สำหรับ 51 นั้น ให้นำตัวเลขตัวท้ายคูณด้วย 5 แล้ว มาลบกับตัวข้างหน้าที่เหลือ
(ถ้าจำนวนนั้นหารด้วย 51 ลงตัว หรือ 0 ถือว่า หารลงตัว)
 เช่น 3825 หาร 51 ลงตัว(382 - (5 x 5) = 382 - 25 = 357 ,
 35
 - (5 x 7) = 35 - 35 = 0
 แต่  3859 หาร 51 ไม่ลงตัว 
(385 - (5 x 9) = 385 - 45 = 340 = (51 x 6) + 34)

สำหรับ 81 นั้น ให้นำตัวเลขตัวท้ายคูณด้วย 8 แล้ว มาลบกับตัวข้างหน้าที่เหลือ
(ถ้าจำนวนนั้นหารด้วย 81 ลงตัว หรือ 0 ถือว่า หารลงตัว)
 เช่น 729 หาร 81 ลงตัว(72 - (8 x 9) = 72 - 72 = 0
 แต่  3996 หาร 81 ไม่ลงตัว 
(399 - (8 x 6) = 399 - 48 = 351
 35 - (8 x 1) = 35 - 8 = 27

สำหรับ 99 นั้น ให้นำตัวเลขทุกๆ 2 ตัวมาบวกกัน 
(เหมือนกรณี 33 แต่ว่า จำนวนนั้นหารด้วย 99 ลงตัว ถือว่า หารลงตัว)
 เช่น 55044 หาร 99 ลงตัว (5 + 50 + 44 = 99)
 แต่  14724 หาร 99 ไม่ลงตัว (1 + 47 + 24 = 72) 

สำหรับ 100 นั้น ให้ดูแค่ 2 ตัวท้าย (ถ้าเป็น 00 ถือว่า หารลงตัว)
 เช่น 1525500 หาร 100 ลงตัว แต่ 1414350 หาร 100 ไม่ลงตัว

* กรณี ((a x 10) + 1)  ให้นำตัวเลขตัวท้ายคูณด้วย a แล้ว มาลบกับตัวข้างหน้าที่เหลือ เช่น
กรณี 21 เป็นต้น

ส่วน กรณี ((a x 10) + 9)  ให้นำตัวเลขตัวท้ายคูณด้วย (a + 1) แล้ว มาบวกกับตัวข้างหน้าที่เหลือ เช่นกรณี 39 เป็นต้น
และ ถ้าจำนวนใดที่เป็น ตัวคูณร่วมของจำนวนที่ต้องการ จะมีวิธีการหาแบบเดียวกัน
เช่น กรณี 51 กับ 17 เป็นต้น

cr.
http://www.trueplookpanya.com/new/clipded/index/354
http://www.mathsisfun.com/divisibility-rules.html
https://en.wikipedia.org/wiki/Divisibility_rule
http://www.savory.de/maths1.htm