วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ความน่าจะเป็น Pt.4 [การแจกแจงความน่าจะเป็นแบบต่อเนื่อง]

ในบางครั้งที่ตัวแปรสุ่มมีค่าเป็นจานวนจริงใดๆ การแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่ม
นั้นจะเรียกว่าเป็นการแจกแจงความน่าจะเป็นแบบต่อเนื่อง ซึ่งมีการแจกแจงที่สำคัญเช่น


  • การแจกแจงแบบสม่ำเสมอ (Uniform Distribution)
  • การแจกแจงแบบปกติ (Normal Distribution)
  • การแจกแจงแบบแกมมา (Gamma Distribution)
  • การแจกแจงแบบเอ็กโปเนนเชียล (Exponential Distribution)
  • การแจกแจงแบบไคแสควร์ (Chi-Squared Distribution)

  1. การแจกแจงแบบสม่ำเสมอ

    การแจกแจงแบบสม่ำเสมอ เป็นการแจกแจงของตัวแปรสุ่ม X โดยที่ค่าของตัวแปรสุ่มอยู่ในช่วง [a, b] ดังนั้น

  2. การแจกแจงแบบปกติ

    การแจกแจงแบบปกติ เป็นการแจกแจงความน่าจะเป็นที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นการแจกแจงที่ได้ถูกนำไปใช้กันอย่างมากและแพร่หลาย กราฟของการแจกแจงปกติ


    (รูปภาพจากhttp://www.oxfordmathcenter.com/drupal7/node/300)

    รูปของโค้งปกติ (Normal Curve) เป็นรูปโค้งแบบระฆัง ทั้งนี้ฟังก์ชันหนาแน่นความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มที่มีการแจกแจงปกติ เป็นดังนี้

  3. การแจกแจงแบบแกมมา

    ถึงแม้ว่าการแจกแจงแบบปกติ จะมีการใช้กันอย่างมาก อย่างไรก็ตามมีบางฟังก์ชันที่เป็น
    ตัวแปรสุ่มแบบต่อเนื่อง ที่มีการนาไปประยุกต์ใช้ในหลายเรื่อง เช่นในการจาลองระบบงานต่างๆ เป็นต้น
    การแจกแจงดังกล่าวคือ การแจกแจงแบบแกมมา ซึ่งมีฟังก์ชันความหนาแน่นจะเป็นคือ

  4. การแจกแจงแบบเอกซ์โปเนนเชียล

    การแจกแจงแบบแกมมา โดยทั่วไปอาจมีที่นาไปใช้ไม่มากเท่าใดนัก แต่สำหรับการแจกแจงแกมมาที่มีค่าพารามิเตอร์ α = 1 หรือ



    เรียกการแจกแจงนี้ว่าเป็นการแจกแจงแบบเอกซ์โปเนนเชียล ซึ่งการแจกแจงแบบนี้ ได้ถูกนำไปใช้กันอย่างมาก ในเรื่องของทฤษฎีความน่าเชื่อถือ (Reliability Theory) ในเรื่องของการจำลอง(Simulation) และการนำไปประยุกต์ในเรื่องของระบบแถวคอย (Queuing Systems) เป็นต้น
  5. การแจกแจงแบบไคสแควร์

    การแจกแจงแบบไคสแคว์ เป็นการแจกแจงที่ได้จากการแจกแจงแบบแกมมาเช่นกัน ทั้งนี้ การแจกแจงแบบไคแสควร์จะเป็นการแจกแจงแบบแกมมาโดยที่ α = k/2 และ β = 2 โดยมี
    ฟังก์ชัน
    หนาแน่นความน่าจะเป็นเป็นดังนี้

    เมื่อ x มีค่าอื่นๆ 
    โดยที่ k เป็นจำนวนเต็มบวกซึ่งการแจกแจงแบบนี้ มีบทบาทที่สำคัญมากทางด้านสถิติโดยเฉพาะเรื่องที่เกี่่ยวกับการประมาณค่า (Estimation) และการทดสอบสมมุติฐาน (Hypothesis Testing)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น