วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วันเข้าพรรษา และ การฟื้นฟูพระพุทธศาสนา

ความเป็นมาของวันเข้าพรรษา

     ในเรื่องความเป็นมาของวันเข้าพรรษา ถ้าว่ากันตามประวัติย่อๆ คือ ในยุคต้นพุทธกาล ก็ยังไม่มีการเข้าพรรษา เพราะฉะนั้นตลอดทั้งปี เมื่อพระภิกษุมีความเห็นว่าท่านควรจะไปเทศน์ ไปสอนญาติโยมที่ไหนได้ ท่านพอมีเวลา ท่านก็จะไป หรือไม่ได้ไปเทศน์ไปสอนใคร ถ้าเห็นว่าที่ไหนมันเงียบ มันสงัดดี เหมาะในการที่จะไปบำเพ็ญภาวนา ทำสมาธิของท่าน ท่านก็จะไป ซึ่งแน่นอน ส่วนมากก็จะอยู่ในเขตที่เป็นป่าเป็นเขา ไกลๆออกไปจากตัวเมือง หรือว่าต้องผ่านไปในชนบทนั่นเอง
     จากการที่ท่านต้องไปอย่างนี้ เนื่องจากในฤดูฝนที่เขาทำไร่ทำนากันอยู่นั้น บางครั้ง ข้าวกล้าของเขาก็เพิ่งหว่านลงไปในนา มันเพิ่งงอกออกมาใหม่ๆ บางทีก็ดูเหมือนหญ้า พระภิกษุก็เดินผ่านไป นึกว่ามันเป็นดงหญ้า ก็เลยย่ำข้าวกล้าของเขาไป ซึ่งก็ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน เขาก็มาฟ้องพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าพระไปย่ำข้าวของเขาที่ปลูกเอาไว้ หว่านเอาไว้ นกกาฤดูฝนมันยังอยู่กับรังของมัน พระทำไมไม่รู้จักพักบ้าง 
  
     เพื่อตัดปัญหานี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เลยทรงกำหนดให้พระภิกษุ เมื่อเข้าพรรษา หรือเมื่อเข้าฤดูฝน ให้พระอยู่กับที่ คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 8 จนกระทั่งขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ให้อยู่เป็นที่เป็นทาง ไม่ไปทำภาวนาที่ไหน ไม่ไปเทศน์โปรดใคร ถ้าใครต้องการให้โปรด ก็มาที่วัดก็แล้วกัน มาหาท่าน ไม่ใช่ท่านไปหาเขา กำหนดเป็นอย่างนี้ไป เพื่อตัดปัญหาไม่ให้ใครมาบ่นลูกของพระองค์ได้
     แต่อีกมุมมองหนึ่ง พระองค์ทรงถือโอกาสที่เกิดเป็นปัญหานี้ ได้ทรงเปลี่ยนคำครหาให้กลายเป็นโอกาสดีของพระภิกษุว่า ถ้าอย่างนั้นพระภิกษุอยู่เป็นที่ในวัดวาอาราม เพื่อที่จะให้พระใหม่ได้รับการอบรมจากพระเก่าได้เต็มที่ เพราะว่าจริงๆ แล้ว ในการอบรมถ่ายทอดศีลธรรม ถ่ายทอดธรรมวินัยให้แก่กันและกันนั้น ถ้าทำอย่างต่อเนื่อง ทำเป็นที่เป็นทางต่อเนื่องกันทุกวันทุกวัน อย่างนี้จะเป็นการดี การศึกษาธรรมะอย่างต่อเนื่องมีผลดี


โครงการอุปสมบทหมู่ 100,000 รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย
การบวช เป็นเพศภาวะเดียวที่รองรับอรหัตผลได้ อีกทั้งยังเป็นทางลัดที่เอื้ออำนวยต่อการทำความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ ให้เกิดขึ้นกับตัวเองมากที่สุด เพราะต้องรักษาศีลมากถึง 227 ข้อ และมีสภาพที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติธรรม ทำสมาธิเจริญภาวนา ทำให้ผู้บวชมีโอกาสบรรลุธรรมชั้นสูง จนหมดกิเลสเข้าถึงนิพพานได้ง่ายกว่าปุถุชนคนธรรมดา ดังนั้น พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย จึงปรารถนาให้ลูกหลานของตนได้บวช เพราะผู้บวชจะได้บุญอันมหาศาล ซึ่งบุญนี้จะส่งถึงท่านได้ ดังมีคำพูดที่ว่า “บวชให้แม่ได้เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์”
โครงการอุปสมบทหมู่ 100,000 รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย เป็นโครงการที่พุทธบริษัท 4 ทั้งแผ่นดิน นำโดยคณะสงฆ์ทั่วประเทศรวมพลังกันจัดขึ้น พร้อมด้วยองค์กรพุทธ ตลอดจนหน่วยงานราชการ 30 กว่าองค์กรร่วมให้การสนับสนุน  และที่สำคัญโครงการนี้ยังเป็นหนึ่งในโครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก ที่เกิดขึ้นโดยดำริของพระเดชพระคุณพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย และประธานมูลนิธิธรรมกาย โครงการนี้ได้รับการตอบรับจากประชาชนอย่างล้นหลาม จนกลายมาเป็นเหตุการณ์ครั้งสำคัญของชาติที่ชายไทยจากทุกสารทิศทั่วประเทศ พากันมาสมัครบวชเป็นจำนวนมากที่สุดเท่าที่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์ทางพระพุทธศาสนา เพราะตั้งแต่เริ่มเปิดให้มีโครงการอุปสมบทหมู่ 7,000 รูป 7,000 ตำบลทั่วไทย เมื่อปี พ.ศ.2552 จากเดิมคาดว่าน่าจะมีผู้บวชแค่ 7,000 คน แต่กลับมีชายไทยสนใจมาสมัครบวชมากถึง 10,685 คน ซึ่งเกินกว่าที่คาดหมายไว้มาก
นับจากนั้น จึงทำให้พระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) ดำริทำโครงการอุปสมบทหมู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับกระแสการตอบรับโดยใช้ชื่อโครงการว่า “โครงการบวชพระ 100,000 รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย” ซึ่งในแต่ละปีจะจัดทำโครงการทั้งหมด 2 รุ่น คือ รุ่นภาคฤดูร้อน และรุ่นเข้าพรรษา
โครงการนี้ทำให้วงการคณะสงฆ์ องค์กรภาคี ชายไทยทั้งแผ่นดิน รวมถึงพ่อแม่ญาติพี่น้องของผู้บวช ต่างปลื้มปีติและเห็นพ้องต้องกันว่า เป็นโครงการที่จะต้องจัดให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พระพุทธศาสนารุ่งเรืองดั่งย้อนยุคพุทธกาล

จำนวนพระภิกษุสงฆ์และสามเณรในประเทศไทย(ทั้ง มหานิกาย และ ธรรมยุติ) ในแต่ละปี
ปี 2547 มีพระภิกษุสงฆ์ 265,355 รูป สามเณร 76,352 รูป
ปี 2548 มีพระภิกษุสงฆ์ 265,442 รูป สามเณร 75,093 รูป
ปี 2549 มีพระภิกษุสงฆ์ 250,437 รูป สามเณร 62,830 รูป
ปี 2550 มีพระภิกษุสงฆ์ 258,163 รูป สามเณร 70,081 รูป
ปี 2551 มีพระภิกษุสงฆ์ 251,997 รูป สามเณร 69,607 รูป
ปี 2552 มีพระภิกษุสงฆ์ 267,939 รูป สามเณร 65,937 รูป
ปี 2553 มีพระภิกษุสงฆ์ 291,116 รูป สามเณร 70,408 รูป
ปี 2554 มีพระภิกษุสงฆ์ 290,331 รูป สามเณร 62,478 รูป
ปี 2555 มีพระภิกษุสงฆ์ 293,879 รูป สามเณร 61,416 รูป
ปี 2556 มีพระภิกษุสงฆ์ 289,131 รูป สามเณร 60,528 รูป
ปี 2557 มีพระภิกษุสงฆ์ 290,015 รูป สามเณร 58,418 รูป

(ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม ในแต่ละปี)

 แผนภูมิแสดงจำนวนพระภิกษุสงฆ์
  แผนภูมิแสดงจำนวนสามเณร

จากสถิติด้านบน ในช่วงปี 2547 - 2551 จำนวนพระภิกษุสงฆ์ มีแนวโน้มลดลง
แต่ในช่วงปี 2552 - 2553 จำนวนพระภิกษุสงฆ์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นช่วงที่ วัดพระธรรมกาย เริ่มจัดโครงการอุปสมบทหมู่ 100,000 รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย
และ 
จำนวนพระภิกษุสงฆ์ ก็เริ่มคงที่ในช่วงปี 2554 - 2557
แต่ว่า
 จำนวนสามเณร มีแนวโน้มลดลง ในช่วงปี 2547 - 2557 อย่างมีนัยยะสำคัญ (เนื่องจากการนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ การขาดแคลงแรงงาน รวมถึงการอุปสมบทขึ้นเป็นพระสงฆ์)
ซึ่งจำนวนพระภิกษุและสามเณร ซึ่งเป็นบุคลากรในการเผยแพร่และสืบทอดพระพุทธศาสนานั้น แสดงถึงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาด้วย

*หมายเหตุ ในที่นี้ไม่กล่าวถึง 
จำนวนพระภิกษุสงฆ์และสามเณร ในต่างประเทศ
cr.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น