- การโยนเหรียญบาท 1 เหรียญ ขึ้นไปในอากาศ แล้วตกลงพื้นอย่างอิสระ สามารถที่จะทำนายว่าจะออกหัว (H) หรือออกก้อย (T) ซึ่งเป็นผลลัพธ์ได้ล่วงหน้า
- การโยนลูกเต๋า 1 ลูก ขึ้นไปในอากาศ แล้วตกลงพื้นอย่างอิสระ ซึ่งเราทราบว่าผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น คือ 1, 2, 3, 4, 5, 6 แต่ว่าผลลัพธ์มีหลายอย่าง เราไม่สามารถทำนายได้ว่าจะออกเลขอะไร
ตัวอย่างเช่น ในการโยนเหรียญ 1 เหรียญ
S = {H, T}
ในการโยนลูกเต๋า 1 ลูก ถ้าสนใจแต้มบนลูกเต๋า จะได้
S = {1, 2, 3, 4, 5, 6}
ในการโยนเหรียญ 2 เหรียญ
S = {HH , HT , TH , TT}
ในการทดลองนั้นบางครั้งสิ่งที่สนใจอาจเป็นแค่ผลของการทดลองบางส่วน จากผลที่เป็นไปได้ทั้งหมด ตัวอย่างเช่นในการโยนเหรียญ 3 เหรียญ ถ้าพิจารณาถึงจานวนเหรียญที่ขึ้นหัว จะได้ว่า แซมเปิลสเปส S = {0, 1, 2, 3} แต่สิ่งที่สนใจ อาจเป็นแค่จานวนเหรียญที่ขึ้นหัวไม่เกิน 1 เหรียญ เป็นต้น ซึ่งเหตุการณ์ คือ เซตย่อยหรือสับเซต ของแซมเปิลสเปส เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ E
ตัวอย่างเช่น ในการโยนลูกเต๋า 1 ลูก
แซมเปิลสเปส S = {1, 2, 3, 4, 5, 6}
ถ้า E1 เป็นเหตุการณ์ที่แต้มบนลูกเต๋ามากกว่า 2 จะได้ว่า
E1 = {3, 4, 5, 6}
ถ้า E2 เป็นเหตุการณ์ที่แต้มบนลูกเต๋าเป็นเลขคี่ จะได้ว่า
E2 = {1, 3, 5}
ในการทดลองสุ่มใด ๆ ที่สามารถได้ผลลัพธ์จากการทดลอง และผลที่ได้แต่ละอย่างนั้น มีโอกาสเกิดขึ้นได้เท่าๆ กัน และเรียกอัตราส่วนระหว่างจำนวนสมาชิกของเหตุการณ์ที่สนใจกับจำนวนสมาชิกของผลที่ได้ว่า “ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ ”
ถ้า N(S) เป็นจำนวนสมาชิของแซมเปิลสเปส S ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เท่า ๆ กัน และ N(E) เป็นสมาชิกของเหตุการณ์ E ซึ่งเป็นสับเซตของ S แล้วความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ E เท่ากับ P(E)
ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ E เขียนแทนด้วย P(E) เมื่อ E คือเหตุการณ์ประกอบใด ๆ
ความน่าจะเป็น คือ ค่าที่จะบอกให้ทราบว่าเหตุการณ์ที่เราสนใจนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นมากน้อยเพี่ยงใด ซึ่งค่าที่ได้คือP(E) = [N(E)/N(S)]P(E) = ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ E
N(E) = จำนวนสมาชิกของ E ( Event )
S = แซมเปิลสเปส
N(S) = จำนวนสมาชิกของ S
ถ้าได้ค่า P (E1) = 0.4 และ P (E2 ) = 0.6 แสดงว่าเหตุการณ์ E1 จะมีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่าเหตุการณ์ E2P (E) มีค่าเท่ากับ 0 แสดงว่าเหตุการณ์ E ไม่มีโอกาสเกิดขึ้น
P (E) มีค่าเท่ากับ 1 แสดงว่าเหตุการณ์ E จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
P (E) มีค่าเท่ากับ 0.5 แสดงว่าเหตุการณ์ E จะมีโอกาสเกิดขึ้นและไม่เกิดเท่า ๆ กัน (50%)
คุณสมบัติของความน่าจะเป็น
- ความน่าจะเป็น E ใดๆ จะมีค่า 0 ถึง 1 เสมอ
- ความน่าจะเป็นของแซมเปิลสเปส S จะมีค่าเท่ากับ 1 เสมอ คือ P (S) = 1 หรือ ถ้า E1 และ E2 เป็นเหตุการณ์ทั้งหมดของแซมเปิลสเปซ S แล้วP (E1) + P (E2) = P (S) = 1
- ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เป็นเซตว่างมีค่าเท่ากับ 0 P(∅) = 0
การกระทำระหว่างเหตุการณ์
เหตุการณ์สามารถกระทำกันได้ด้วยตัวกระทำของเซต คือ ยูเนียน (∪), อินเตอร์เซกชัน (∩), ผลต่าง (-) และคอมพลีเมนต์ (') แล้วทำให้เกิดเหตุการณ์ใหม่ ดังนี้
* ข้อกำหนด ถ้า S เป็นแซมเปิลสเปซ และ A กับ B เป็นเหตุการณ์ที่เป็นสับเซตของ S
- ยูเนียนของเหตุกาณ์ (Union of events)
A ∪ B คือ เหตุการณ์ที่ประกอบด้วยสมาชิกของเหตุการณ์ A หรือ เหตุการณ์ของ B หรือทั้งสองเหตุการณ์
- อินเตอร์เซกชันของเหตุการณ์ (Intersection of events)
A ∩ B คือ เหตุการณ์ที่ประกอบด้วยสมาชิกที่อยู่ในทั้งสองเหตุการณ์
- ผลต่างของเหตุการณ์ (Difference of events)
A - B คือ เหตุการณ์ที่ประกอบด้วยสมาชิกที่อยู่ในเหตุการณ์ A แต่ไม่อยู่ในเหตุการณ์ B
- คอมพลีเมนต์ของเหตุการณ์ (Complement of events)
A' คือเหตุการณ์ที่ประกอบด้วยสมาชิกที่อยู่ในแซมเปิลสเปซ S แต่ไม่อยู่ในเหตุการณ์ A
- เหตุการณ์ที่แยกกันโดยเด็ดขาด ( Mutually Exclusive Event )
คือเหตุการณ์ในการทดลองใด ๆ ถ้าใช้เหตุการณ์ A และ B แล้ว A และB จะไม่สามารถเกิดขึ้นพร้อมๆ กันได้ในการทดลองแต่ละครั้ง จะได้ค่า P(A ∩ B) = 0
เมื่อ S คือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
กฎข้อที่ 1 ถ้า A และ B เป็นเหตุการณ์ที่แยกจากกันแล้วจะได้ว่า P(A ∩ B) = 0 หรือ P(A ∪ B) = P(A) + P(B)
- เหตุการณ์ที่ไม่แยกจากันโดยเด็ดขาด ( Non – Mutually Exclusive Event )
ในการทดลองที่มีเหตุการณ์ A และ B มีเหตุการณ์ร่วมกันอยู่ และเป็นสับเซตของแซมเปิลสเปซ S ซึ่งจะได้ P(A ∩ B) ≠ 0
กฎข้อที่ 2 ถ้า E1 และ E2 เป็นเหตุการณ์ใด ๆ ที่เป็นสับเซตของแซมเปิลสเปซ S แล้ว P(A ∪ B) = P(A) + P(B) - P(A ∩ B)
- คอมพลีเมนต์ของเหตุการณ์ ( Complementary Event )
Complementary ของ A เขียนแทนด้วย A' ซึ่งค่า A ∩ A' = ∅ หรือ A ∪ A' = S
กฎข้อที่ 3 ถ้าให้ A' เป็น Complementary ของ A แล้ว P(A') = 1 - P(A)
cr.
http://as.nida.ac.th/books/jugkarin/Math-Pdf/
http://reg.ksu.ac.th/teacher/kanlaya/lesson/lesson5.htm
http://www.scimath.org/socialnetwork/groups/viewbulletin/893-6+%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99?groupid=193
http://stattrek.com/probability/probability-rules.aspx
https://www.mathsisfun.com/data/probability-events-mutually-exclusive.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น